(ภาพประกอบจาก: www.moneysupermarket.com)
คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศกันมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แล้วประเทศกลุ่มเงินสกุลไหนล่ะ ที่คนไทยไปแล้วคุ้มมากขึ้น หรือ น้อยลง เมื่อเทียบกับค่าเงินบาท ?!?
ในกราฟด้านบนของแต่ละสกุลเงิน จะแสดงมูลค่าของเงิน 1 บาทไทย เมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศนั้น ๆ ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ย. 2555 – พ.ย. 2557) ถ้ากราฟพุ่งขึ้น แปลว่า เงินบาทเรามีค่าสูงขึ้น ถ้ากราฟตกลง แปลว่าเงินบาทเรามีค่าลดลง
• ญี่ปุ่น (Japanese Yen)
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เงินบาท แข็งค่าขึ้น 35% เมื่อเทียบกับเงินเยน แปลว่า ด้วยเงินบาทจำนวนเท่ากัน เวลา 2 ปีผ่านไป คนไทยมีกำลังซื้อสินค้าในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 35%
ซึ่งแนวโน้มล่าสุด มองไปยังอนาคตใกล้ ๆ สัก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า (มองไกลกว่านี้ยังไม่รู้) ก็ยังเป็นฝั่งที่เงินบาทจะทวีค่ามากเงิน ดังนั้น จะไปเที่ยวแล้วค่อยแลกเยน ไม่ต้องรีบ อาจจะได้เงินเยนเข้ากระเป๋ามากขึ้น
• สหรัฐอเมริกา (และประเทศที่ใช้เงินสกุล US Dollar)
เงินบาทอ่อนค่าลง 7% เมื่อเทียบกับเงิน USD ก็คือคนไทยต้องซื้อสินค้าในเงินสกุล USD แพงขึ้น 7% ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
และหากดูแนวโน้มในช่วงนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับ USD แปลว่า ใครจะไปเที่ยว รีบแลกเงิน USD ไว้ก่อนดีกว่า ขืนช้าไปแลกวันหน้า อาจต้องใช้เงินบาทมากขึ้น
• สหภาพยุโรป (และประเทศที่ใช้เงินสกุล Euro)
เงินบาทอ่อนค่าลง 5% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เท่ากับว่าคนไทยที่ไปชอปปิ้ง ปารีส มิลาน จะต้องใช้เงินบาทเพิ่มขึ้น 5% จึงจะซื้อของในสกุล EUR ได้ในราคาเดิม
ในส่วนของแนวโน้มช่วงนี้ ค่อนข้างทรง ๆ แล้ว (หลังจากช่วงต้นปีที่เงิน EUR อ่อนยวบ) เท่ากับว่า ในช่วงนี้ ถ้าว่างก็ไปแลกไว้ ถ้าไม่ว่างก็พอจะรอได้ เอาสะดวกไว้ก่อน
หมายเหตุ
- กราฟจาก Aspen for Windows
- แนวโน้มที่ระบุไว้ข้างต้น เกิดจากการพิจารณาด้วยเครื่องมือ MACD ในกรอบเวลารายสัปดาห์ (Weekly Time Frame) หากใครใช้เครื่องมือต่างกันไป และตั้งค่าต่างกันไป ก็อาจได้ผลต่างกันไป และเป็นการมองไปในอนาคตสั้น ๆ ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ด้วยข้อมูล ณ วันนี้เท่านั้น พรุ่งนี้หากมีปัจจัยอะไรที่เปลี่ยนไปแรง ๆ แนวโน้มนี้ก็อาจเปลี่ยนได้ทันที
Categories: Investment Articles