Investment Articles

ที่สุดของการลงทุนปี 2557

screenshot.85

ปี 2557 ผ่านไป ปี 2558 ผ่านเข้ามา มาดูกันว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดปี 2557 เป็นอย่างไรบ้าง

① ดัชนีหุ้นไทย (ข้อมูลจาก Aspen for Windows)screenshot.76

เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลตอบแทนรวมหรือ Total Return Index (TRI) ของหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนทั้งผลจากราคาหุ้น การจ่ายปันผล และการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่น หุ้นปันผล ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrants) ไว้หมดแล้ว พบว่า

  1. กลุ่มหุ้นเล็ก (ที่ไม่ค่อยจะเล็กแล้ว) หรือ mai … ร้อนแรงที่สุด บวกไป 98.95% หรือเกือบ 1 เท่าตัว โดยหลายท่านคงจะทราบว่าหุ้นที่เป็นผู้นำในตลาด mai คือ Energy Absolute (EA) ซึ่งมีสัดส่วนมูลค่าตลาดถึง 24% หรือเกือบ 1 ใน 4 ของทั้งตลาด mai … และเฉพาะหุ้น EA ตัวเดียว บวกไปถึง 226% ตลอดปี 2557
  2. กลุ่มหุ้นโดยรวม หรือ SET TRI ถึงจะไม่ร้อนแรงเท่าหุ้นเล็ก แต่ก็บวกไปถึง 19.11%
  3. กลุ่มหุ้นใหญ่ หรือ SET50 TRI บวกตามมาที่ 16.98%
  4. ขณะที่ กลุ่มหุ้นปันผล หรือ SET 30 High Dividend TRI รั้งท้าย บวกขึ้นมาเพียง 9.31% เท่ากับว่า ปี 2557 ใครเน้นหุ้นปันผลตัวใหญ่ ๆ จะได้ผลตอบแทนตามหลังหุ้นทั่ว ๆ ไป (SET TRI) อยู่ถึงครึ่งทาง

② หุ้นไทยรายตัว (ข้อมูลจาก setsmart.com และ Aspen for Windows)

3 อันดับแรกที่บวกร้อนแรงที่สุด คือ

  1. บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ ABC บวกขึ้นมาจาก 0.16 บาท เมื่อปลายปี 2556 มาอยู่ที่ 4.46 บาท เมื่อสิ้นปี 2557 หรือบวก 2,688% (เกือบ 27 เด้ง) โดยมีการตบจูบลากขึ้นทุบลงหลายรอบ
  2. บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWC บวกขึ้นมาจาก 2.26 บาท มาอยู่ที่ 37 บาท  หรือบวก 1,537% (15 เด้งเศษ) และที่เหลือเชื่อมากก็คือ 15 เด้งนี้ มาเกิดเอาในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายของปี
  3. บริษัท ไดเมท (สยาม) จำกัด (มหาชน) หรือ DIMET บวกขึ้นมาจาก 1.23 บาท มาอยู่ที่ 13.8 บาท หรือบวก 1,021% (10 เด้งเศษ)

    screenshot.87

3 อันดับแรกที่ร่วงเยินที่สุด คือ

  1. บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ร่วงจาก 0.62 บาท เมื่อปลายปี 2556 มาเหลือเพียง 0.08 บาท เมื่อสิ้นปี 2557 เท่ากับร่วงลงไป 87% (เหลือเพียง 1 ใน 8)
  2. บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AS ร่วงจาก 8.80 บาท เหลือเพียง 3.80 บาท  เท่ากับร่วงลงไป 57% (เหลือไม่ถึงครึ่ง)
  3. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ AMARIN ร่วงจาก 19.18 บาท  เหลือเพียง 10.40 บาท เท่ากับร่วงลงไป 46% (เหลือเพียงครึ่งเดียว)screenshot.78

 ③ กองทุนรวมที่ซื้อได้ในประเทศไทยซึ่งรวมกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ  (ข้อมูลจาก morningstarthailand.com)

  1. กองทุนหุ้น
    • เด่นสุดกองทุนเปิดเอคควิตี้โปร หุ้นระยะยาว (บลจ.โซลาริส) บวก 38.27% ตามมาด้วย กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index (บลจ.ทหารไทย) บวก 37.00%
    • ดับสุดกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ (บลจ.แมนูไลฟ์) ลบ 31.83% ตามมาด้วย กองทุนเปิด เคแทม เวิลด์ เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์ (บลจ.กรุงไทย) ลบ 23.34%
  2. กองทุนตราสารหนี้
    • เด่นสุดกองทุนเปิด โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต – ปันผล (บลจ.ยูโอบี) บวก 10.40% ตามมาด้วย กองทุนเปิดเคแอสเซ็ท โกลบัล ฟิกซ์อินคัม 4 (บลจ.กสิกรไทย) บวก 10.00%
    • ดับสุดกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (บลจ.ไทยพาณิชย์) ลบ 7.14% ตามมาด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้นและเงินฝากสกุลเงินออสเตรเลีย (บลจ.ไทยพาณิชย์) ลบ 7.04%
  3. กองทุนผสม
    • เด่นสุดกองทุนเปิดไทยทวีทุน 2  (บลจ.กรุงไทย) บวก 47.63% ตามมาด้วย กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี-บีทีอินคัมโกรทฟันด์ (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 23.27%
    • ดับสุดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทน (บลจ.เอ็มเอฟซี) ลบ 35.14% ตามมาด้วย กองทุนเปิดเคแทม อินเวสเมนท์ เลเจนด์ ฟันด์ (บลจ.กรุงไทย) ลบ 9.04%
  4. กองทุนตลาดเงิน
    • เด่นสุดกองทุนเปิด เคเอ ชอร์ท เทอม ฟิกซ์ อินคัม (บลจ.กสิกรไทย) บวก 2.92%
    • ดับสุดกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารรัฐตลาดเงิน (บลจ.ไทยพาณิชย์) บวก 1.52% (บวกน้อยที่สุดในบรรดากองทุนตลาดเงิน)
  5. กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF)
    • เด่นสุดกองทุนเปิดเอคควิตี้โปร หุ้นระยะยาว  (บลจ.โซลาริส) บวก 38.27% ตามมาด้วย กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีเพิ่มค่าหุ้นระยะยาว (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 26.83%
    • ดับสุด (บวกน้อยสุด)กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีอิสลามิกหุ้นระยะยาว (บลจ.เอ็มเอฟซี) บวก 3.17% ตามมาด้วย กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวอิควิตี้ 70 ปันผล (บลจ.กรุงศรี) บวก 5.57%

จะเห็นได้ว่า ในวงการกองทุนรวม แม้จะเป็นหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน (Same asset class) กองทุนที่ดีที่สุด กับ แย่ที่สุด สามารถให้ผลตอบแทนต่างกันมหาศาล นักลงทุนจึงต้องเลือกบลจ.และกองทุนให้ดี

④ ดัชนีหุ้นต่างประเทศ (ข้อมูลจาก tradingeconomics.com)

  • บวกมากที่สุด: Argentina’s MERVAL บวกไป 59.14% ตามมาด้วย China’s SSE Composite บวกไป 52.87%
  • ลบมากที่สุด: Greece’s ASE ลบไป 29.80% ตามมาด้วย Portugal’s PSI20 ลบไป 26.83%

screenshot.80(กราฟจาก bloomberg.com)

⑤ สินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ (ข้อมูลจาก Aspen for Windows)

  • ทองคำ: ทรง ๆ เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนเล็กน้อย ลบไป 1.83%
  • โลหะเงิน: ร่วงแรง ราคาลดลง 20.52%
  • น้ำมันดิบ (Brent) ร่วงเยิน ราคาดิ่งลง 48.45%screenshot.82

⑥ เงินตราต่างประเทศสกุลสำคัญเทียบกับค่าเงินบาท (ข้อมูลจาก Aspen for Windows)

  • US Dollar: แทบจะไม่เปลี่ยนแปลง โดยอ่อนค่าลง (เงินบาทมีค่ามากขึ้น) แค่ 0.26%
  • Eurozone Euro: อ่อนค่าลง 11.66% ตามภาวะเศรษฐกิจยุโรป และมาตรการ QE
  • Japanese Yen: อ่อนค่าลง 12.66% ตามภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น และมาตรการ QEscreenshot.83

เมื่อดูภาพรวมตลอดปี 2557 แล้ว ก็ชัดเจนว่า เป็นปีที่การลงทุนในหุ้นยังให้ผลตอบแทนจัดหนักที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หุ้นไทย หรือกองทุนรวมหุ้น ส่วนการลงทุนในเงินตราต่างประเทศ ทองคำ และน้ำมัน ถ้าไม่ทรงก็ทรุดหนัก

ของแถม 1: ที่สุดของตัวเลขเศรษฐกิจรอบโลก

  1. การขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP Growth เทียบกับปีก่อน)
    • สูงสุด: ทั่วโลก — South Sudan บวก 13.10% // เขตเศรษฐกิจสำคัญ — China บวก 7.30%
    • ต่ำสุด: ทั่วโลก — Libya ลบ 12.06% // เขตเศรษฐกิจสำคัญ — Japan ลบ 1.20%
    • ไทย: บวก 0.60%
  2. อัตราเงินเฟ้อ (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงการด้อยค่าของเงินสกุลท้องถิ่น)
    • สูงสุด: ทั่วโลก & เขตเศรษฐกิจสำคัญ — Venezuela บวก 63.42% (OMG !!)
    • ต่ำสุด: ทั่วโลก — Syria ลบ 3.70% // เขตเศรษฐกิจสำคัญ — Greece ลบ 1.20%
    • ไทย: บวก 1.26%
  3. สัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP (ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงภาระหนี้ของรัฐบาล)
    • สูงสุด: ทั่วโลก & เขตเศรษฐกิจสำคัญ — Japan 227.20%
    • ต่ำสุด: ทั่วโลก — Brunei 2.46% (รัฐบาลแทบจะไม่มีหนี้) // เขตเศรษฐกิจสำคัญ — Saudi Arabia 2.68% (รัฐบาลแทบจะไม่มีหนี้)
    • ไทย: 45.7%
  4. จำนวนประชากร
    • สูงสุด: China 1,361 ล้านคน
    • ต่ำสุด: Monaco 4 หมื่นคน (แค่นั้นเอง)
    • ไทย: 67 ล้านคน
  5. GDP per capita Purchasing Power Parity (PPP)-adjusted (ผลผลิตมวลรวมต่อรายประชากรที่ปรับความแตกต่างของค่าเงินและอำนาจซื้อแล้ว — ใช้สะท้อนถึงระดับความเจริญและคุณภาพชีวิตได้ระดับหนึ่ง)
    • สูงสุด:
      (1) Macao $138,024 (4.5 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
      (2) Qatar $127,562 (4.2 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
      (3) Cayman Island $89,400 (2.9 ล้านบาท) ต่อคนต่อปี
    • ต่ำสุด
      (1) Somalia $547 (18,000 บาท) ต่อคนต่อปี
      (2) Central Africa $584 (19,000 บาท) ต่อคนต่อปี
      (3) Congo $723 (24,000 บาท) ต่อคนต่อปี
    • ไทย: $13,932 (460,000 บาท) ต่อคนต่อปี
    • ตัวเลข GDP per capital PPP-adjusted ของ Macao สูงกว่า Somalia 252 เท่า และสูงกว่าไทย 9.9 เท่า

ของแถม 2: ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2557 และประมาณการปี 2558 (ข้อมูลจาก bot.or.th ณ 26 ธันวาคม 2557)

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ 2557
    1. มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมที่คาดกว่า GDP ประเทศไทยจะขยายตัว 1.5% เหลือเพียง 0.8%
    2. การใช้จ่ายภาครัฐเบิกจ่ายล่าช้าและต่ำกว่าคาด
    3. การส่งออกฟื้นตัวช้าเนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด
    4. ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อลดลงมาก เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง
  2. ประมาณการเศรษฐกิจปีหน้า 2558
    1. GDP ขยายตัวลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.8% เหลือ 4.0% เหตุผลหลักจากเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวช้า และรายได้ภาคเกษตรที่อาจหดตัว แต่ก็มีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน
    2. เงินเฟ้อลดต่ำลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้มาก โดยเงินเฟ้อทั่วไป (คิดจากราคาสินค้าทุกชนิด) อยู่ในระดับต่ำที่ +1.2% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ +2.1% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสดที่ผันผวนมากกว่า) อยู่ในระดับ +1.2% เช่น ซึ่งใกล้เคียงประมาณการเดิมscreenshot.6

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *