Investment Articles

สำคัญจริงนะ … อัตราดอกเบี้ยนโยบาย | ตอนที่ 2: กรณีศึกษาการปรับดอกเบี้ยตามไปของ 12 แบงก์

ความเดิมตอนที่แล้วในบทความ สำคัญจริงนะ … อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตอนที่ 1: ขยับดอกเบี้ยฯไปเพื่ออะไร ? ได้เล่าถึงความสำคัญของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กลไกที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และไปจบที่การชี้ให้เห็นความสำคัญของ “ธนาคารพาณิชย์” ในฐานะที่เป็นผู้เล่นหลักในฝั่งเอกชนซึ่งรับไม้ต่อมาจากภาครัฐที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย

screenshot.460(คลิก/แตะ ที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่เต็มจอ)

เมื่อดูจากโครงสร้างเงินฝากของประเทศไทยซึ่งมีทั้งหมด 11.85 ล้านล้านบาท ก็พบว่าเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากระยะสั้น ไม่เกิน 3 เดือน ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้หลักของแบงก์พาณิชย์คือ Minimum Loan Rate หรือ MLR

screenshot.402
(ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ มีนาคม  2558)

และเพื่อจะติดตามว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับลดลงในแต่ละรอบนั้น แบงก์พาณิชย์ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยแค่ไหน จึงได้เก็บสถิติ “ส่วนต่าง” อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR กับ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน ในแต่ละรอบของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาให้ดูกัน

screenshot.404

จะเห็นว่า ตลอดเวลา 8 ปีที่ผ่านมานั้น แบงก์พาณิชย์เกือบทั้งหมดมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย หรือ Interest Spread กว้างขึ้นตลอดเวลา

จากปี 2551 ที่ทั้ง 12 แบงก์มีค่าเฉลี่ยของ Spread อยู่ที่ 4.745% (ตอนนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.25%) มาจนถึงปัจจุบันปี 2558 ที่ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 5.725% (ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดเหลือแค่ 1.75%) หรือสูงขึ้นถึงเกือบ 1% (0.98%)

ปัจจุบัน แบงก์ที่มี MLR-Fixed3M Spread สูงที่สุดคือ CIMB Thai ซึ่งอยู่ในระดับ 6.325% ขณะที่แบงก์ที่มี Spread นี้ต่ำที่สุด คือ Tisco Bank ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.875% แถม Spread ยังแคบลงด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับรอบปี 2553 … และในบรรดา 12 แบงก์ที่นำมาเทียบกันนั้น ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา 11 แบงก์มี Spread เพิ่มขึ้น มีเพียง 1 แบงก์เท่านั้นที่ลดลง

1. CIMB Thai

screenshot.391

2. UOB

screenshot.389

3. ทหารไทย

screenshot.390

4. กรุงศรีอยุธยา

screenshot.392

5. ธนชาต

screenshot.393

6. กสิกรไทย

screenshot.394

7. กรุงเทพ

screenshot.395

8. ไทยพาณิชย์

screenshot.396

9. กรุงไทย

screenshot.397

10. LH Bank

screenshot.399

11. เกียรตินาคิน

screenshot.398

12. ทิสโก้

screenshot.400

และเมื่อแบงก์สามารถหาเงินฝากได้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กับการปล่อยกู้ได้มากขึ้น ตามการขยายตัวเศรษฐกิจ ภายใต้กลไกที่ Interest Spread ถ่างออกไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ ก็เท่ากับว่าผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ มีแนวโน้มจะได้กำไรสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอัตราก้าวหน้า ดังจะเห็นได้จากกราฟแนวโน้มกำไรต่อหุ้นของแบงก์บางแห่ง ด้านล่างนี้ (อย่างไรก็ดี กำไรของแบงก์พาณิชย์ ยังมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ร้อยแปดอย่าง ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  และยังขึ้นอยู่กับปริมาณหนี้เสียที่ต้องหักออกเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ได้แย่มากนัก หนี้เสียก็จะมีอยู่ในระดับปกติ)

1. BBL

screenshot.405

2. SCB

screenshot.406

3. KBANK

screenshot.407

4. KTB

screenshot.408

จากข้อมูลข้างต้นนี้ ถ้ามองในเชิงธุรกิจ ก็พอจะพูดได้ว่า ธุรกิจแบงก์นี่มันดีจริง … แต่ถ้ามองในฐานะประชาชนคนไทย ก็อยากจะเสนอให้แบงก์พยายามขยับอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกันมากขึ้น ลดดอกเบี้ยเงินฝากเท่าไร ก็พยายามลดดอกเบี้ยเงินกู้ตามกันเท่านั้น เพื่อให้นโยบายจากภาครัฐ ที่ส่งผ่านการขยับปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้เกิดประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ซึ่งหมายความถึง ทั้งผู้ประกอบการ ทั้งลูกค้าเงินฝากและเงินกู้โดยทั่วไป

• ย้อนอ่านตอนแรก สำคัญจริงนะ … อัตราดอกเบี้ยนโยบาย | ตอนที่ 1: ขยับดอกเบี้ยฯไปเพื่ออะไร ?

(กราฟทั้งหมดในบทความนี้ จาก Aspen for Windows)