เป็นเรื่องปกติสำหรับคนยุคนี้ที่จะต้องหาข้อมูลเปรียบเทียบทางอินเตอร์เน็ท ก่อนที่จะยอมควักเงินไม่ว่าจะมากหรือน้อย ในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการต่าง ๆ … ผมเองก็เช่นกัน เมื่อวันก่อนผมพยายามจะตรวจสอบราคาประกันภัยรถยนต์โดยการ search ทาง Google ด้วย keyword พื้น ๆ ก็คือ “ประกันภัยรถยนต์” แล้วผลที่เจอก็คือเว็บไซต์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอย่าง GoBear.co.th ก็เลยเกิดความสนใจว่า เว็บที่ใช้ชื่อแปลเป็นไทยว่า “ไปเลยพี่หมี!” หรือ “โกแบร์” มาเกี่ยวกับการประกันภัยอย่างไร
พอเข้าไปในเว็บ พบว่าเป็นของผู้ให้บริการค้นหาประกันภัยรถยนต์และประกันภัยการเดินทาง ซึ่งโกแบร์ไม่ได้ขายประกันภัยให้แก่ผู้ใช้เว็บไซต์โดยตรง แต่จะทำการโอนผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ของบริษัทประกัน เพื่อไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเอง แล้วตัดสินใจซื้อบริการที่เว็บไซต์ปลายทาง ซึ่งวิธีการค้นหาแบบนี้ เรียกว่า metasearch โดยกลไกของเว็บไซต์ประเภทนี้จะมีการดึงข้อมูลมาจากหลาย ๆ แห่ง แล้วแสดงเปรียบเทียบให้เราดูได้อย่างชัดเจน เมื่อเราเห็นข้อมูลที่หลายหลาย เราก็สามารถเลือกข้อเสนอที่ถูกใจที่สุดได้
ดังนั้นแล้ว metasearch ก็คือเครื่องมือช่วยในการเปรียบเทียบอย่างตรงไปตรงมาบน online platform ทำให้เราได้เห็นข้อเสียหรือจุดอ่อนต่าง ๆ ที่ก็มักจะไม่ถูกแสดงให้เห็นชัดเจนมากนักบนสื่อทางการตลาดทั่วไป และการที่เราได้รับข้อมูลซึ่งครบถ้วนต่อการตัดสินใจ แถมยังไม่ต้องมีขั้นตอนการใส่ข้อมูลส่วนตัวก่อนการเรียกดูราคานี้เอง ที่เป็นจุดเด่นซึ่งทำให้ metasearch เป็นแนวทางที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการเงินซึ่งมีรายละเอียดสูง อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต หรือผลิตภัณฑ์ประกันภัย ที่มีผู้ให้บริการจำนวนมาก อีกทั้งแต่ละเจ้าก็นำเสนอกันไปตามแนวทางของตัวเอง ซึ่งยากที่จะสรุปได้อย่างรวดเร็วและอย่างมั่นใจ ว่าบริการของใครที่ดีและเหมาะสมกับเราที่สุด
เพื่อให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนขึ้น จะขอยกตัวอย่างผู้ให้บริการ metasearch ในธุรกิจอื่นที่เรารู้จักกันดี เช่น tripadvisor ซึ่งไม่ได้ทำการจองห้องพักให้เราได้เลยทันทีในเว็บไซต์ แต่จะพาออกไปเว็บไซต์รับจองอีกต่อหนึ่ง เช่น booking.com expedia.com หรือ travelocity.com เท่ากับว่าความดีงามอีกประการหนึ่งของเว็บไซต์ประเภท metasearch นี้ก็คือ ช่วยประหยัดเวลาในการหาข้อมูล ไม่ต้องไล่ค้นหาครั้งละหลาย ๆ เว็บไซต์ เพราะตัวเว็บไซต์ metasearch เองทำหน้าที่ไป “หาต่อ” ให้เราเรียบร้อยแล้ว
(ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภท metasearch … มีข้อสังเกตว่า Google ก็เป็นหนึ่งในนั้น)
และไหน ๆ ก็แวะเข้ามาในเว็บไซต์โกแบร์แล้ว ต้องลองใช้เว็บไซต์เขาค้นหาบริการกันจริง ๆ สักหน่อย ซึ่งก็คือ การประกันภัยรถยนต์
โดยเราสามารถเลือกยี่ห้อ รุ่น ปี และชั้นของประกันภัยที่ต้องการได้
และสามารถเรียงลำดับจากมุมมองต่าง ๆ ได้ เช่น เบี้ยประกัน และความคุ้มครอง (ที่สรุปมาให้ดูอย่างง่าย ๆ ในรูปแบบคะแนนรวม)
และยังเลือกประกันมาเปรียบเทียบกันได้ 2 เจ้า
และเมื่อเราเลือกเจ้าได้แล้ว โกแบร์ก็จะพาเราออกไปเว็บไซต์ที่ทำการซื้อประกันได้จริง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเว็บไซต์ของบริษัทประกันภัยโดยตรง หรืออาจจะเป็นเว็บไซต์ตัวกลางอีกต่อหนึ่งก็ได้
ในส่วนของการประกันภัยการเดินทาง ก็สามารถกรอกข้อมูล เรียงลำดับตามแนวที่ชอบ เลือกเจ้าที่ใช่ แล้วไปตัดสินใจซื้อที่เว็บไซต์ปลายทางได้เหมือนกันกับประกันภัยรถยนต์
โดยปัจจุบันโกแบร์เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัยถึง 23 แห่ง เช่น เมืองไทยประกันภัย นวกิจประกันภัย เอ็มเอสไอจี
โดยสรุปแล้ว โกแบร์เป็นเว็บไซต์ที่เน้นความน่ารักเข้าใจง่าย เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความชัดเจนตรงไปตรงมา … ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไป ว่าโกแบร์ insurance metasearcher เจ้านี้ จะมีพัฒนาการอย่างไร จะเป็นที่นิยมของคนไทยมากน้อยแค่ไหน แต่อย่างน้อย เมื่อเน้นที่ความง่ายในการใช้งาน และการช่วยประหยัดเวลาของคนที่กำลังค้นหาผลิตภัณฑ์ประกันภัย ก็น่าจะโดนใจคนไทยอยู่ไม่มากก็น้อย 🙂
Categories: Knowledge Resources