Investment Articles

ภาวะตลาดแบบนี้ลงทุนในอะไร และจัดพอร์ตแบบไหนดีนะ ? ตอนที่ 1 | รู้ทันภาวะเศรษฐกิจ

screenshot.369

คำถามยอดนิยมของนักลงทุนเกือบทุกคน เกือบทุกเวลา ก็คือ “ตอนนี้ควรลงทุนในอะไรบ้าง และแบ่งสัดส่วนอย่างไรดี ?”  คำถามนี้ ถ้าใช้ภาษาคนในวงการก็จะเรียกว่า “Asset Selection” และ “Asset Allocation”

การจะตอบคำถามนี้ได้ ต้องปูพื้นความเข้าใจกันเล็กน้อยว่า สินทรัพย์แต่ละประเภท จะมีช่วงเวลารุ่งเรืองและเหงาหงอยของมันเอง แปรเปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ไม่มีสินทรัพย์ใดที่ดีสุด ๆ อยู่ตลอดเวลา ในการจัดกระบวนทัพลงทุน จึงต้องเข้าใจภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาวางแผนว่า ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจลักษณะนั้น รวมถึงการคาดการณ์ต่อไปในอนาคต ควรเน้น (และลดสัดส่วน) สินทรัพย์ประเภทใด และเมื่อวางแผนกระจายสัดส่วนสินทรัพย์ได้แล้ว ค่อยมาเลือกต่อว่า ในสินทรัพย์ประเภทนั้น ควรเลือกลงทุนตัวไหน

จึงสามารถสรุปในเบื้องต้นได้ว่า Economic outlook เป็นจุดเรื่มต้น ตามมาด้วย Asset Allocation แล้วจบด้วย Asset Pick ซึ่งเป็นการพิจารณา จาก “เหตุ” ไปสู่ “ผล”

“Economic Outlook –> Asset Allocation –> Asset Selection”

ซึ่งกระบวนการนี้ ต้องทำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น ไตรมาสละครั้ง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วอยู่ไปอย่างนั้นเป็นปี ๆ เพราะภาวะทุกอย่างในโลกนี้ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าหลงลืม หรือ ไม่ให้ความสำคัญกับ strategy revisit (การกลับมาพิจารณากลยุทธ์) นอกจากจะไม่ได้ผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว ยังอาจทำให้ขาดทุนทั้ง ๆ ที่จริงแล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ … เมื่อเข้าใจกระบวนแล้ว ก็มาเข้าเรื่องกันได้เสียที ณ จุดเริ่มต้นคือ การทำความเข้าใจภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และเข้าใจมุมมองในอนาคต

Economic Outlook 

เศรษฐกิจโลกช่วงที่ผ่านมา ยังเติบโตเชื่องช้า (ถึงช้ามาก) โดยพิจารณาจากเขตเศรษฐกิจหลัก ๆ ของโลก อย่าง สหรัฐฯ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และ จีน

screenshot.67หลังยุควิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตเฉลี่ยประมาณ 2% ต่อปี

screenshot.68เศรษฐกิจยุโรปหลุดพ้นจากยุคอัตราการเติบโตติดลบแล้ว แต่อัตราการฟื้นตัวก็ยังต่ำ

screenshot.70เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังติดอยู่ในภาวะ “ไม่ไปไหน”

screenshot.69 เศรษฐกิจจีน ถึงแม้จะเติบโตในอัตราสูง แต่แนวโน้มของอัตราการเติบโตก็ลดลงต่อเนื่อง จาก 14%  ในยุคก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ลงมาเหลือไม่ถึง 7% ในปัจจุบัน

ในส่วนของการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกในอนาคต กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ประเมินไว้ล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม ว่า Global GDP จะขยายตัวลดลงจากที่เคยประเมินไว้ โดยในปีนี้และปีหน้า จะเติบโต 3.1% และ 3.6% ตามลำดับ เทียบกับตัวเลขจริง 3.4% ในปี 2557 โดยเป็นการลดลง 0.2 percentage point (ภาษาคนทั่วไปคือ ลด 0.2%) จากประมาณการณ์เดิมในเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นผลจากการที่เขตเศรษฐกิจหลักต่าง ๆ ล้วนมีการเติบโตลดลงอย่างพร้อมหน้า

screenshot.72ที่มา: IMF’s World Economic Outlook – October 2015

ทางด้านอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ U.S. Federal Reserve (นักลงทุนเรียกกันสั้น ๆ ว่า Fed) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามอง ให้มุมมองว่า ช่วงปลายปี 2558 เป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว และดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ จากระดับใกล้ศูนย์ในปัจจุบัน จนเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมในระยะยาวคือประมาณ 3-4%

“อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ มีโอกาสสูงที่จะถูกปรับเพิ่มขึ้นในปีนี้
และน่าจะค่อย ๆ ขยับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมคือ 3-4%”

screenshot.74ที่มา: FOMC’s Minute – September 2015

และจนบัดนี้ (พฤศจิกายน 2558) ก็ยังไม่มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย โดยยังเหลือการประชุม Fed’s FOMC (Federal Open Market Committee ซึ่งเทียบได้กับคณะกรรมกรรมนโยบายการเงิน หรือ กนง. ของประเทศไทย) อีก 1 ครั้งในปีนี้ ทำให้นักลงทุนกะเก็งกันเข้มขึ้นว่าในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีช่วงกลางเดือนธันวาคม 2558 น่าจะได้เห็นอะไรดี ๆ

ศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังมีการเติบโตในระดับต่ำ 2-3% เช่นกัน เทียบกับช่วงก่อนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับ 5% ต่อปี บางค่ายถึงกับขนานนามว่า อัตราการเติบโตในระดับ 2-3% ของไทย กลายเป็น “New Normal” หรือมาตรฐานใหม่ ไปเรียบร้อย

screenshot.75

ทางด้านการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในอนาคต ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำการประเมินครั้งล่าสุดในเดือนตุลาคม 2558 ว่า Thailand GDP จะเติบโตในอัตราลดลงจากที่เคยประเมินไว้ เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจโลก โดยในปีนี้และปีหน้าจะเติบโต 2.7% และ 3.7% ตามลำดับ ในขณะที่การประเมินครั้งก่อนหน้า มองไว้ว่าจะเติบโต 3.0% และ 4.1%

screenshot.76ที่มา: BoT’s Monetary Policy Report – October 2015

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: แบงก์ทำตัวยังไง เมื่อดอกเบี้ยนโยบายขยับ ตอนที่ 1: ขยับดอกเบี้ยไปเพื่ออะไร ?!?

ในส่วนของตลาดหุ้น เมื่อดูจากดัชนี MSCI World Index (MXWO:LN) จะพบว่าในช่วง1 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วไปให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยติดลบ 0.75% โดยตลาดสหรัฐฯ (Dow Jones INDU:IND) ติดลบไป 1.12% // ตลาดยุโรป (SX5E:IND) บวก 10.62% // ตลาดญี่ปุ่น (NKY:IND) บวก 13.44% // ตลาดจีนบวก (SHCOMP:IND) 47% แต่ก็เป็นการร่วงลงมาครึ่งทางแล้ว จากจุดสูงสุดของปีที่บวกไปเกิน 100% // ส่วนตลาดหุ้นไทย (กราฟสีส้มเส้นล่างสุด) ช่วง 1 ปีมานี้ร่วงไป 12.39%

screenshot.79ที่มา: Bloomberg’s Chart Comparison

โดยสรุปก็คือ ภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ยังพอจะเติบโตได้ แต่ในอัตราที่เชื่องช้า โดยมีปัจจัยสำคัญคือการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือ Fed Fund Rate ของสหรัฐฯ จ่อคิวอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม 2558 แถมตลาดหุ้นทั่วโลกในภาพรวมก็ให้ผลตอบแทนไม่มากนัก แถมยังมีความผันผวนสูงมากในบางตลาด ในขณะที่ประมาณการณ์เศรษฐกิจในอนาคต มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ลดลง ... แล้วในภาวะแบบนี้ จะลงทุนอย่างไรให้เหมาะสม สามารถติดตามได้ในบทความตอนต่อไป ภาวะตลาดแบบนี้ลงทุนในอะไร และจัดพอร์ตแบบไหนดีนะ ? ตอนที่ 2 | ลงทุนอย่างไรให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *