Investment Articles

THE WISDOM Wealth Avenue จับจังหวะโลก เจาะจังหวะการลงทุน

ไม่ใช่หาฟังกันได้ง่าย ๆ ในการที่ท่านผู้ว่าแบงก์ชาติจะมาอธิบายภาวะเศรษฐกิจโลกให้เข้าใจเป็นฉาก ๆ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศมาแนะนำการลงทุนให้อย่างละเอียด

เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารกสิกรไทยโดยบริการเดอะวิสดอม ได้จัดงานสัมมนาด้านการเงินการลงทุน “THE WISDOM Wealth Avenue จับจังหวะโลก เจาะจังหวะลงทุน” ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ 1) ทิศทางเศรษฐกิจบนความท้าทาย ปี 60 และ 2) คว้าโอกาสการลงทุนอย่างเหนือชั้น จึงขอถือโอกาสนำเนื้อหามาสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ และใช้เวลาอ่านไม่นาน

ppel9887

ในช่วงแรก “ทิศทางเศรษฐกิจบนความท้าทาย ปี 60” เป็นการบรรยายพิเศษโดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันเป็นยุคที่เศรษฐกิจผันผวน ซับซ้อน คาดเดาได้ยาก การเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจ และการลงทุนได้อย่างมั่นใจ เริ่มจากการทบทวนสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินที่ผ่านมา ที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในอนาคตข้างหน้า

โดยถ้ามองย้อนกลับไปในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา อาจจะนิยามสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นว่า “3 ต่ำ 2 สูง”

สภาวะ 3 ต่ำ

  1. อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำ ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมหลัก ทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าและมีความเปราะบางสูง และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอย่างการค้าระหว่างประเทศ แต่ในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา การค้าระหว่างประเทศอ่อนแรงลงมาก และน่าจะอ่อนแรงลงอีกในอนาคต ทำให้เกิดผลกระทบกับตลาดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และมีลักษณะเศรษฐกิจแบบเปิดอย่างประเทศไทย
  2. อัตราเงินเฟ้อต่ำ เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าระดับในอดีตค่อนข้างมาก บวกกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวต่ำ ทำให้เงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ แต่กระนั้น อัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจปรับตัวสูงขึ้นได้บ้าง เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และอีกหนึ่งปัจจัยคือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ทำให้มีอัตราการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในอเมริกา และภาวะเงินเฟ้อของประเทศอื่นค่อย ๆ ปรับสูงขึ้นตาม
  3. อัตราดอกเบี้ยต่ำ อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำมานานเป็นประวัติการณ์ การลงทุนของภาคเอกชนทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำ ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอยู่ในระดับต่ำตามไป แต่ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันทยอยปรับเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะธนาคารกลางของสหรัฐฯ รวมทั้งนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ ที่ส่งผลทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวของอเมริกาและทั่วโลกค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น

สภาวะ 2 สูง

  1. ตลาดเงินตลาดทุนมีความผันผวนสูง ตลาดการเงินโลกยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระดับที่สูง ในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจการเงินจะมีความไม่แน่นอนมากขึ้น  ส่งผลกระทบให้ตลาดเงินและตลาดทุนอ่อนไหวง่าย นักลงทุนไม่กล้าลงทุน
  2. ความเหลื่อมล้ำสูง ผู้ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกระจุกตัวสูง ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ยกตัวอย่างผลสำรวจจาก Oxfam แสดงให้เห็นว่า คนที่รวยที่สุดในโลก 8 คน มีทรัพย์สินเท่ากับคน 3,600 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรโลก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่คนรวยที่สุดในโลก 62 คน มีทรัพย์สินเท่ากับจำนวนคนครึ่งโลก

นอกจากนั้น ในอนาคตยังมี การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญอีก 4 เรื่อง ที่กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นได้แก่

  1. ความเกี่ยวเนื่องกันของปัจจัยเศรษฐกิจและการเมือง สาเหตุหลักมาจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างพลิกความคาดหมายในหลายประเทศ อย่างเช่น ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผลโหวต Brexit ของอังกฤษ
  2. วามก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลทั้งหลายจะเป็นประโยชน์มหาศาลในการทำงาน สามารถสร้างอาชีพและแนวทางใหม่ ๆ เป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต แต่ก็จะส่งผลให้การจ้างงานในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมลดลง ทำให้เกิดปัญหาความไม่ทั่วถึงของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
  3. ารเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประชากร หลายประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงมาก และเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ผู้คนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดแรงงาน มีจำนวนคนวัยทำงานลดลง ส่งผลต่อเรื่องโครงสร้างการบริโภคและการออม รวมถึงภาระด้านการคลังของประเทศจะเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม
  4. การขยายตัวของชนชั้นกลาง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม ทำให้มีอำนาจในการซื้อและการบริโภคสูง ส่งผลต่อเนื่องให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคของอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น

จากการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ข้อข้างต้น เราจึงควร เตรียมความพร้อม 3 ด้าน ได้แก่

  1. เพิ่มผลิตภาพ (Productivity) รู้จักปลูกฝังเรื่องการเรียนรู้ และเปิดรับกับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นทักษะและพื้นฐานสำคัญ
  2. การสร้างภูมิคุ้มกัน ตั้งแต่ระดับบุคคล  ที่ควรจะรู้จักวางแผนการเงินให้เพียงพอสำหรับอนาคต เข้าใจความเสี่ยงที่มากับการลงทุน ไปจนถึงระดับภาคธุรกิจ ที่ต้องให้ความสำคัญและสามารถจัดการกับเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและการลงทุนได้อย่างเหมาะสม และติดตามข่าวสารของตลาดเงินตลาดทุนอย่างเท่าทัน
  3. การปรับตัวอย่างมีพลวัตร (Dynamism) คือการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง ในระดับบุคคล การรู้จักเรียนรู้และปรับตัวเป็นทักษะที่สำคัญเพื่อการอยู่รอดในอนาคต ส่วนการปรับตัวในระดับธุรกิจ ต้องมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในอนาคตเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น

และในช่วงที่สอง “คว้าโอกาสการลงทุนอย่างเหนือชั้นเป็นเสวนาเจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านกองทุน หุ้น และ Asset Allocation เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สำคัญของโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย พร้อมแนะนำการลงทุนที่น่าสนใจ

wwor0270

  • ด้านกองทุนรวม คุณนาวิน อินทรสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการและประธานบริหารการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย (ที่ 2 จากขวาในรูป) สรุปว่า ในปีนี้และปีหน้า เศรษฐกิจเอเซียและเศรษฐกิจเกิดใหม่จะมีความการเติบโตสูงกว่าสหรัฐฯ ยูโรป ลาตินอเมริกาและตะวันออกกลาง

screenshot-460(สามารถคลิกที่รูปหรือพลิกอุปกรณ์เป็นแนวนอนเพื่อดูภาพที่ใหญ่ขึ้น)

อีกทั้งสถานการณ์ต่าง ๆ ก็เอื้อต่อการเน้นลงทุนในเอเซียมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ

screenshot-461

(สามารถคลิกที่รูปหรือพลิกอุปกรณ์เป็นแนวนอนเพื่อดูภาพที่ใหญ่ขึ้น)

ในส่วนของสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ (Asset Class) มองว่า

• Fixed Income: ยังให้ผลตอบแทนต่ำโดยเฉพาะในตราสารภาครัฐ ในขณะที่ตราสารหนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะในเอเซียมีความน่าสนใจในเชิงมูลค่า

• หุ้น: แนวโน้มความสามารถในการทำกำไรค่อย ๆ สูงขึ้น แต่ผลตอบแทนที่คาดหวังยังต่ำ เนื่องจากราคาค่อนข้างสูงและขาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมารองรับในระยะต่อไป (QE เริ่มลดลง)

• สินค้าโภคภัณฑ์: ราคาน้ำมันเริ่มเข้าสู่ช่วงที่มีความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ขณะที่ทองคำน่าสนใจลดลง เนื่องจากสินทรัพย์อื่น ๆ เริ่มให้ผลตอบแทนสูงขึ้น (เช่น ตราสารหนี้) และเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงลดลง

  • ด้านหุ้น: คุณกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย) มองว่าวัฏจักรน้ำมันกำลังเข้าสู่ขาขึ้น

screenshot-464
และประมาณการณ์ว่า SET Index ในปีนี้ น่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนมากนัก ในกรณีดี น่าจะขึ้นไปสู่ระดับ 1,600 จุดต้น ๆ และในกรณีแย่สุดอาจจะลงไปถึงระดับ 1,250 จุด

และเชื่อว่าหุ้นที่น่าสนใจในช่วงต่อไป คือหุ้นพลังงานตัวใหญ่ ๆ หุ้นธนาคารที่มูลค่ายังไม่สูงมากนัก รวมถึงหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศ เช่น ค้าปลีก

  • ด้าน Asset Allocation:  คุณศิริพร สุวรรณการ ผู้บริหารกลุ่มงานที่ปรึกษาทางการเงินไพรเวทแบงก์ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้ายสุด) มองว่ากลยุทธ์กระจายสินทรัพย์ (Allocate asset) อย่างเหมาะสม ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว ซึ่งดีกว่าการเน้นจับจังหวะตลาด (Market timing) และการเลือกหุ้น (Stock pick)

screenshot-465

โดยนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงมาก หากเน้นลงทุนในหุ้นทั้งหมด ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสามารถทำผลตอบแทนได้ 6.41% ต่อปีโดยเฉลี่ย และหากเน้นลงทุนที่มีความแน่นอนสูงคือมีตราสารหนี้เป็นหลัก จะสามารถทำผลตอบแทนได้ 3.59% ต่อปีโดยเฉลี่ย

screenshot-466

(สามารถคลิกที่รูปหรือพลิกอุปกรณ์เป็นแนวนอนเพื่อดูภาพที่ใหญ่ขึ้น)

เดอะวิสดอมกสิกรไทย เป็นบริการพิเศษที่ธนาคารกสิกรไทยสร้างสรรค์ขึ้น สำหรับลูกค้าที่มีเงินฝากหรือเงินลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป รวมกันเฉลี่ย 6 เดือน หรือเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารฯ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ระดับ VVIP ในทุกมิติของการใช้ชีวิต ทั้งด้านการเงินการลงทุน และด้านไลฟ์สไตล์ ให้แก่ลูกค้า

wwor0325

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการเดอะวิสดอมได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ THE WISDOM Contact Center โทร.02-888-8899

[Special Content]

Categories: Investment Articles

Tagged as: , , , , ,

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *