Knowledge Resources

เขาว่าวางแผนการเงินให้ดูเงินเฟ้อด้วย แล้วตัวเลขมันเท่าไรกันล่ะ ? | อัพเดทตัวเลข ณ ก.ค.60

เวลาที่เราจะต้องวางแผนการเงินการลงทุนระยะยาว คำนวณผลตอบแทน คำนวณเงินต้นที่ต้องมียามเกษียณ ก็มักจะถูกทักว่า “เฮ้ย ลืมเงินเฟ้อไปหรือเปล่า?!” ซึ่งบางทีเราก็ลืม หรือไม่ ก็ไม่รู้ว่าจะใช้ตัวเลขไหนดี ก็เลยขอนำตัวเลขเงินเฟ้อมาให้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนซะเลย

แต่ก่อนจะไปดูตัวเลข ขออธิบายก่อนว่า ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทย ถูกรวบรวบข้อมูล คำนวณ และเผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตัวเลขของเดือนก่อนจะประกาศทุกวันทำการแรกของเดือนปัจจุบัน (นับว่าเป็นการประมวลผลที่เร็วมากกก) อย่างตัวเลขล่าสุดที่มี ณ เวลานี้ ก็คือของเดือนมิถุนายน 2560  โดยอัตราเงินเฟ้อแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งในการคำนวณ จะไม่รวมการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงานและอาหารสด จึงทำให้ Core Inflation มีความผันผวนน้อยกว่าเงินเฟ้ออีกประเภท
  2. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation หรือบางทีเรียกสั้น ๆ ว่า Inflation) ซึ่งจะรวมการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าและบริการทุกประเภท จึงทำให้ Headline Inflation มีความผันผวนมากกว่า

นอกจากนั้นหลายคนมักจะสงสัยว่า ทำไมข้าวของแถวบ้านแพงขึ้น แต่เงินเฟ้อต่ำติดดินจังฟะ ก็ต้องอธิบายว่า

ในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ จะใช้สินค้าและบริการ 422 รายการ มาคำนวณร่วมกันแบบถ่วงน้ำหนัก

คือไม่ใช่ทุกรายการจะมีน้ำหนักเท่ากัน ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์มีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ไว้ดังนี้


พอเข้าใจเรื่องที่มาและการคำนวณไปแล้ว ก็ได้เวลาเข้าเรื่องของเราจริง ๆ ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเป็นอย่างไร

(Advertising)
  1. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ตัวเลขล่าสุด ณ มิถุนายน 2560 คือ 0.45% ต่อปี (ราคาสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้น 0.45% จากเดือนมิถุนายน 2559 หรือที่เรียกว่า Year-on-Year Comparison)
  • เฉลี่ยแบบ Exponential (ให้น้ำหนักกับข้อมูลใหม่มากกว่าข้อมูลเก่า) ย้อนหลัง 5 ปี (60 เดือน) คือ 1.05% ต่อปี
  • เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (120 เดือน) คือ 1.29% ต่อปี
  • เฉลี่ยย้อนหลัง 15 ปี (180 เดือน) คือ 1.53% ต่อปี

2. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป

  • ตัวเลขล่าสุด ณ มิถุนายน 2560 คือ -0.05% ต่อปี (ติดลบหมายถึง ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยจะต่ำลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
  • เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (60 เดือน) คือ 0.94% ต่อปี
  • เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (120 เดือน) คือ 1.68% ต่อปี
  • เฉลี่ยย้อนหลัง 15 ปี (180 เดือน) คือ 2.13% ต่อปี

ก็เท่ากับว่า หากจะใช้ตัวเลขค่าเฉลี่ยระยะยาวที่สุดที่มีข้อมูลและครอบคลุมสินค้าและบริการทุกชนิดแล้วละก็ ขอสรุปให้ชัด ๆ ว่า

อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในระยะยาวของประเทศไทยคือ 2.13% ต่อปี

หรือใครคิดว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 15 ปีมันนานไป ไม่สะท้อนภาวะปัจจุบันอีกต่อไป จะใช้ตัวเลขย้อนหลังที่สั้นกว่านั้นคือ 0.94% หรือ 1.68% ต่อปี ก็ตามสะดวก

ทีนี้พอเรารู้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวแล้ว ก็สามารถเอาไปใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณได้หลากหลายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การประมาณการณ์ราคาสินค้าและบริการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต หรือการกำหนดอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำจากการลงทุนที่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้ ซึ่งตามตัวเลขนี้ก็คือ ต้องไม่น้อยกว่า 2.13% ต่อปี

แหล่งข้อมูล
• กระทรวงพาณิชย์ 1 และ 2
• บริการเอสเพน โดย ThaiQuest

(Advertising)

Categories: Knowledge Resources

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *