Digital Asset

พูดถึง “เงินดิจิตอล” ต้องมอง 2 มิติ

วลี “เงินดิจิตอลเป็นฟองสบู่” .. ยังมีการพูดถึงอยู่เนือง ๆ ซึ่งส่วนตัวขอให้ความเห็นดังนี้ครับ

การจะชี้ชัดได้ว่าสิ่งใดเป็นฟองสบู่ ต้องวัดมูลค่าพื้นฐานสิ่งนั้นได้เสียก่อน เหมือนเราไม่มีแผนที่ ไม่รู้พิกัดตัวเอง เราจะบอกได้อย่างไร ว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหน เราเลยแล้ว หรือว่ายังไม่ถึง

การพิจารณาพื้นฐานของราคาน้ำมันดิบ และทองคำ สามารถนำ “ต้นทุนการได้มา” มาเป็นปัจจัยในการพิจารณาได้ .. น้ำมันดิบ ก็ใช้ต้นทุนในการขุดเจาะ ทองคำ ก็ใช้ต้นทุนในการทำเหมือง

เงินดิจิตอล ก็อาจจะมีหลักการให้พิจารณาได้ในลักษณะนี้เช่นกัน เพราะเงินดิจิตอล มีต้นทุนในการ “ขุด” เช่นกัน ซึ่งต้นทุนหลัก ๆ ก็คือค่าระบบ — ระบบเล็กเป็นเครื่องในบ้าน ระบบใหญ่เป็นฟาร์มขนาดเท่าโรงงาน — และค่าไฟ

ดังนั้นถ้าราคาเงินดิจิตอลตกลงต่ำกว่าต้นทุนนี้ ฝั่ง supply จะหยุด เพราะทำไปแล้วมีแต่จะขาดทุน

ระบบขุดในบ้าน

ระบบขุดระดับฟาร์ม


ในฝั่ง Demand หากกลับไปเทียบกับน้ำมัน และทองคำ ก็มีบทวิเคราะห์มากมาย ที่ให้ข้อมูลว่า ในแต่ละวัน โลกเรามีความต้องการใช้น้ำมันเท่าไร มีความต้องการใช้ทองคำในด้านต่าง ๆ กี่ตันต่อหน่วยเวลา

 

ในส่วนของเงินดิจิตอล ตัวอย่างของ Demand ก็มาจาก (1) การนำไปใช้จ่ายในร้านที่รับชำระด้วยเงินดิจิตอล ซึ่งอาจจะยังมีไม่มาก แต่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ (2) การลงทุนระยะยาว (ซื้อเก็บ) (3) เก็งกำไร (ซื้อมาเทรด) (4) ลงทุนทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ digital asset เช่น ทำ Crypto Exchange ซึ่งต้องมีเงินทุนเริ่มต้นเป็นเงินดิจิตอลจำนวนมาก

ตัวอย่างเว็บไซต์ Digital asset exchange

นี่คือมิติด้าน Economics และ Finance

แต่ไม่ใช่แค่นั้น เพราะเมื่อฝั่ง supply ชะงักไป กำลังการขุด (transaction verification power) จะค่อย ๆ ลดลง ใครต้นทุนแพงหรือเทคโนโลยีด้อยกว่า จะตายก่อน และเมื่อกำลังการขุดลดลง System difficulty ในการขุดจะค่อย ๆ ลดลง ไปสู่ระดับที่สมดุล ทั้งนี้ System difficulty คือ ค่าความยากในเชิงสมการคณิตศาสตร์ที่นักขุดต้องเข้ามาแก้สูตร เพื่อจะที่ได้ค่าตอบแทนเป็นเงินดิจิตอล ถ้ากำลังการขุดทั่วโลกเพิ่มขึ้น System Difficulty จะเพิ่มขึ้น เพื่อให้เวลาเฉลี่ยของการขุดเงินหนึ่งรอบ ไม่เร็วเกิน ซึ่งปัจจุบันตั้งไว้ที่ประมาณ 10 นาที

โค้ดในการคำนวณ System difficulty ของ Bitcoin (ที่มา https://en.bitcoin.it/wiki/Difficulty)

แต่ที่ผ่านมาหลายปี system difficulty เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพราะมีกำลังการขุดเพิ่มเข้ามาในระบบตลอด และการที่มีกำลังการขุดเพิ่มเข้ามา ก็เป็นการยืนยันว่า ทำแล้วมีกำไร

System Difficulty ในการขุด Bitcoin
(กราฟจาก https://bitcoinwisdom.com/bitcoin/difficulty)

* Hash Rate = กำลังการขุดรวมของโลก

 

กราฟสีฟ้า แสดงเวลาที่ใช้ในการขุดเหรียญหนึ่งรอบ จะเห็นว่า เมื่อเทคโนโลยีดีขึ้น เวลาจะลดลง ระบบจึงเพิ่ม Difficulty ให้เวลากลับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับประมาณ 600 วินาที (10 นาที) ต่อรอบ อยู่เสมอ
(กราฟจาก https://bitcoinwisdom.com/bitcoin/difficulty)

 

และการที่ที่ผ่านมา system difficulty มีการปรับเพิ่มขึ้นตลอด ทำให้ระบบขุดรุ่นเก่าจะไม่คุ้มอีกต่อไป คือขุดไม่ขึ้น จึงต้องมีการลงทุนใหม่ในระบบที่ดีขึ้น ก็เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (แต่อัตราต้นทุนต่อหน่วยกำลังการผลิตก็มีโอกาสลดลง หากมีโทคโนโลยีที่ดีขึ้น และขายได้ในระดับ mass)

นี่คือมิติด้าน Computer Science และ Technology (ที่ก็มีมิติของ Econ & Finance ผสมอยู่)

กระนั้น ที่นำเสนอไปข้างต้น ก็ไม่ได้เป็นการบอกชัด ๆ ว่าเงินดิจิตอลอยู่ในภาวะฟองสบู่หรือไม่ แต่เป็นการชี้ประเด็นว่า

ในเรื่องเงินดิจิตอลนี้ นอกจากจะพิจารณาในมิติของ Economics และ Finance แล้ว ยังมีมีมิติของ Computer Science และ Technology เข้ามาผสมด้วย และต้องไม่ลืมว่า เรื่องทั้งหมดนี้มันถือกำเนิดจากมิติประเภทหลัง .. และการพิจารณาทั้ง 2 มิติคู่กัน อาจจะทำให้เราได้คำตอบก็เป็นได้

ป.ล. นอกจากเงินดิจิตอลแล้ว ก็ยังมี “หุ้นดิจิตอล” ด้วย ซึ่งมีมูลค่าผูกกับผลประกอบการของธุรกิจที่นำหุ้นดิจิตอลออกมาเสนอขาย อาจจะคำนวณมูลค่าพื้นฐานได้ง่ายกว่า ซึ่งก็จะทำให้ชี้ได้ง่ายกว่าว่ามันเป็นฟองสบู่หรือเปล่า

ป.ล.2 ได้ยินความเห็นมาเนือง ๆ เช่นกันว่า มันไม่ง่ายไปเหรอ ที่แค่เอาเครื่องมาต่อ ๆ กัน แล้วทำเงินได้ ขอยกตัวอย่างที่ชัดเจนว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ลงทุนทำระบบขึ้นมาเพื่อให้บริการโอนเงิน แล้วเก็บค่าธรรมเนียม ก็เป็นสิ่งเดียวกัน

(Advertising)

BX.in.th Bitcoin Exchange Thailand

Caution: Cryptocurrency exchange is not a regulated business, globally.
TIF can’t and won’t fully affirm trustworthiness of any operators.

 

Categories: Digital Asset

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *