ธุรกรรม Bitcoin ครั้งแรกของโลก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2009 เวลา 18.15น. ตรงกับเวลาประเทศไทยวันที่ 4 มกราคม 2009 เวลา 1.15น.
โดย Bitcoin บล็อกแรก (ฺBlock #0) ให้ผลตอบแทนกับผู้ช่วยทำธุรกรรม (นักขุด) 50 BTC ซึ่งในตอนนั้น ราคา 1 BTC ไม่ถึง 0.10 USD
ส่วน Bitcoin บล็อกล่าสุด Block #503640 (ซึ่งจะมี Block ใหม่ขุดออกมาทุก ๆ ประมาณ 10 นาที ดังนั้นขณะที่คุณอ่านบทความ จะมี Block ใหม่กว่านี้ออกมาเพียบแล้ว) ได้ผลตอบแทน 12.5 BTC ซึ่งราคาล่าสุดอยู่ที่ $13,502
(มีข้อมูลย้อนไปถึงแค่ปี 2010 ครับ)
(ข้อมูลด้านบนทั้งหมดยกเว้นกราฟราคา มาจาก https://blockchain.info)
และเชื่อว่า เมื่อดูข้อมูลด้านบน จะต้องงงแน่นอนว่าศัพท์อะไรคืออะไร จึงขอใช้โอกาสนี้ อธิบายศัพท์เทคนิกที่สำคัญบางตัวให้เป็นข้อมูลกันซะเลย
- Block: กลุ่มของธุรกรรมที่ระบบจะทำรายการให้พร้อมกันในคราวเดียว (หรือที่เรียกว่าในหนึ่ง Block) ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 1,000 – 2,000 ธุรกรรมต่อ Block .. การโอน Bitcoin ของเรา จะถูกจับรวมกลุ่มเข้าไปใน Block ใด Block หนึ่ง ร่วมกับเพื่อน ๆ จากทั่วโลกอีกเป็นพันคน .. และเมื่อมีการทำธุรกรรม Block ถัดไป จะมีการโยงข้อมูล (Chain) จาก Block ก่อนหน้าเข้ามาในกระบวนการประมวลผลด้วย นี่จึงเป็นที่มาของชื่อเทคโนโลยี “Blockchain” นั่นคือการเอา Block มา Chain ต่อกัน .. โดยล่าสุด ฐานข้อมูลของ Bitcoin Blockchain มีขนาดประมาณ 151 Gigabytes (https://blockchain.info/charts/blocks-size)
. - Block Reward: ผลตอบแทนที่กลุ่มผู้ช่วยทำธุรกรรม (นักขุด) จะได้รับจากการทำธุรกรรม 1 Block โดย Block Reward เริ่มแรกนั้นอยู่ที่ 50 BTC/Block และปัจจุบันอยู่ที่ 12.5 BTC ต่อ Block
. - Block Reward Halving: กลไกการลด Block Reward ลงเหลือครึ่งหนึ่ง (Half) ทุกครั้งที่มี Block ใหม่เกิดขึ้น 210,000 Blocks ซึ่งกินเวลาประมาณ 3.5 ปี – 4 ปี .. ดังนั้น ในปัจจุบัน จึงอยู่ในยุคที่ 3 ของ Block Reward (ยุคแรก 2009 – 2012: 50 BTC/Block // ยุคสอง 2012 – 2016: 25 BTC/block // ยุคสาม 2016 – 2020 (คาดว่า): 12.5 BTC/block and so on) .. โดยเหตุที่ต้องมีกลไก Halving นี้ ก็เพราะผู้ที่สร้างระบบ Bitcoin ขึ้นมา เชื่อว่าจะเป็นการควบคุม New supply ของ Bitcoin ไม่ให้เพิ่มขึ้นเร็วเกินไป ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่ม Demand ให้กับ Bitcoin ได้ และทีผ่่านมา จากการที่ Bitcoin เพิ่มจากราคาไม่ถึง $0.10 มาจนเป็น $13,000 ก็ดูเหมือนว่ากลไกนี้จะได้ผล .. ดังนั้น ถ้าเชื่อในกลไก Controlled supply แบบนี้ ก็ไม่น่าจะต้องกังวลมากนัก ว่าถ้าเกิด Halving ครั้งต่อไปในปี 2020 แล้วจะทำให้ระบบพัง .. นอกจากนั้น Digital Asset สกุลอื่น ๆ ก็นำหลักการ Halving มาใช้กันเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน
.
(ที่มา: http://www.bitcoinblockhalf.com)
- Hashrate: กำลังการขุดจากทั่วโลก มีหน่วยย่อยสุดเป็น Hash/second .. โดยในภาพ 13.32 EH/s นั่นก็คือ 13.32 x 1018 Hash/sec ขณะที่เครื่องขุดรุ่นใหม่ ๆ 1 หน่วยจะมีกำลังการขุดประมาณ 12-14 TH/s หรือ 12-14 x 1012 จึงคำนวณคร่าว ๆ ได้ว่า ทั่วโลกน่าจะมีเครื่องขุดอยู่ 1 ล้านเครื่องเป็นอย่างน้อย
.
.
- Difficulty: การทำธุรกรรมเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนเป็น Block Reward โดยเทคนิกแล้วเป็นการแก้สมการคณิตศาสตร์ และเมื่อดูจากข้อ 4 จะเห็นว่า ผู้คนแห่กันเข้ามาขุด Bitcoin มากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงประสิทธิภาพของเครื่องขุดที่ปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมา (ดูจาก Hashrate ที่พุ่งขึ้นมหาศาล) ดังนั้น เมื่อดูเร็ว ๆ ก็จะจินตนาการได้ว่า ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป Bitcoin จะต้องถูกขุดใหม่ขึ้นมาในอัตราเร็วขึ้นเรื่อย ๆ .. ซึ่งในประเด็นนี้ ผู้สร้างระบบ Bitcoin ได้คิดกลไกป้องกันไว้แต่แรกแล้ว จึงผูกสูตรฝังไว้ในระบบว่า จะปรับค่าความยาก (Difficulty) ของการแก้สมการนี้เรื่อย ๆ เพื่อให้การขุด 1 Block ใช้เวลาประมาณ 10 นาที !! ซึ่งเป็นการควบคุม New Supply ไม่ให้เกิดขึ้นเร็วเกินไปอีกทางหนึ่ง เสริมกับกลไก Halving
.
ดังนั้นเมื่อ Hashrate เพิ่มขึ้น ค่าความยากก็จะเพิ่มตาม ทำให้เวลาในการขุด 1 Block ถูกควบคุมให้อยู่ในกรอบประมาณ 10 +/- นาที มาได้โดยตลอด .. เช่นในกราฟด้านล่าง เส้นสีน้ำเงินคือเวลาที่ใช้ในการขุด 1 Block ซึ่งจะเห็นว่าเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมี Hashrate เข้ามาขุดมากขึ้น แต่พอถึงจุดหนึ่ง เส้นสีแดงคือค่าความยาก จะเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นสีน้ำเงินถูกตบกลับลงมาอีกครั้ง
.
(ที่มา: https://bitcoinwisdom.com/bitcoin/difficulty)
.
เคยมีคนบอกว่า ด้วยกลไกเช่นนี้ ต่อให้มี quantum computer เข้ามาขุด ก็จะมีเจ้า Difficulty นี่แหละ ที่คอยปรับสมดุลไว้ได้ แต่ในกรณีแบบนี้ เครื่องขุดยุคปัจจุบันจะพากันเจ๊งหมด เพราะพลังการคำนวณจะสู้ค่าความยากในยุค quantum computer ไม่ได้ ขุดไปเสียค่าไฟเปล่า
. - Mining Pool : จากข้อ 2 นั้น การขุด 1 Block หากเป็นนักขุดตัวคนเดียว (Solo miner) โอกาสที่จะขุดได้มีน้อยมากกกก จึงมีการรวมกลุ่มกัน (Pool) เพื่อให้มีโอกาสขุดได้เพิ่มขึ้น และเมื่อขุดได้ ก็จะนำ Block Reward มาแบ่งกันภายใน Pool นั้น ๆ ดังนั้น ยิ่ง Pool ใหญ่ ก็มีโอกาสขุดได้มากขึ้น แต่ก็จะต้องแบ่ง Reward กันกระจายมากขึ้นด้วย .. ในรูปด้าน ๆ บน ที่ระบุว่า “Relayed by” ก็เป็นการบอกว่า Block นี้ Pool ไหนเป็นเจ้าที่ขุดได้สำเร็จนั่นเอง
.
ถามว่า แล้วนักขุดตามบ้าน จะไปใช้บริการ Pool ได้อย่างไร ? ก็ต้องบอกว่า มีให้เลือกหลายเจ้า แต่ละเจ้าคิดค่าธรรมเนียมในการเข้ากลุ่มแตกต่างกันไป หาข้อมูลได้ตาม Google โดยในรูปด้านล่างคือส่วนแบ่งกำลังการขุด (Market share) ของแต่ละเจ้าครับ
(ที่มา: https://blockchain.info/pools)
ก็หวังว่า จะเป็นข้อมูลที่่ช่วยให้เข้าใจ Bitcoin Blockchain ในมิติด้านเทคโนโลยีได้มากขึ้นครับ
-SJ@TIF, IBM’s Blockchain Essentials for Developers Certificate –
4.07pm, Jan 11, 2018
——
Categories: Digital Asset