เพื่อเป็นการระลึกถึง Stephen Hawking (1942 – 2018) ขอเล่าประวัติโดยย่อให้ทราบกันเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าครับ
- ชื่อเต็ม: Stephen William Hawking
- ช่วงชีวิต: 8 มกราคม 1942 – 14 มีนาคม 2018 (อายุ 76 ปี)
- การศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก applied mathematics and theoretical physics, specialising in general relativity and cosmology จาก University of Cambridge
- อาการเจ็บป่วย: เริิ่มป่วยด้วยโรคระบบประสาทกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic lateral sclerosis หรือ ALS ซึ่งโรคนี้เป็นที่มาของกิจกรรมระดมทุน ALS Ice Bucket Challenge อันโด่งดังเมื่อไม่กี่ปีมานี้) ตั้งแต่เริ่มเรียนปริญญาเอก และอาการเริ่มรุนแรงจนไม่สามารถพูดหรือเดินได้ อย่างไรก็ดี ณ ก่อนเสียชีวิต ยังสามารถสื่อสารได้ด้วยการใช้กล้ามเนื้อแก้มส่งสัญญาณให้เครื่องช่วยสร้างเสียงพูดจากการผสมคำ (Speech-generating device)
- ผลงานเขียนเชิงวิชาการบางส่วน: A Brief History of Time (1988), The Nature of Space and Time (1996 ร่วมกับ Roger Penrose), The Universe in a Nutshell (2001)
- ผลงานเขียนหนังสือเด็กบางชิ้นส่วน ซึ่งร่วมเขียนกับลูกสาว: George’s Secret Key to the Universe (2007), George and the Unbreakable Code (2014)
- รางวัลบางส่วน: Albert Einstein Award (1978), (US’s) Presidential Medal of Freedom (2009)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์: CH (UK’s Companion of Honour), CBE (UK’s Commander of the Most Excellent Order of the British Empire)
- สารคดึและภาพยนต์บางส่วนที่เกี่ยวข้อง: Hawking – BBC television film (2004) แสดงโดย Benedict Cumberbatch, The Theory of Everything (2014) แสดงโดย Eddie Redmayne
(ศึกษาประวัติและผลงานเต็มได้ที่: https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Hawking)
และในโอกาสนี้ขอนำ Talk สัมภาษณ์ Stephen Hawking ความยาว 10 นาทีที่ให้ไว้ในงาน TED2008 มาให้ฟังกันครับ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ครั้งแรกและครั้งเดียวที่ให้กับ TED Talk โดยมีซับไทย และคำบรรยายฉบับเต็มในภาษาไทยให้ด้วย ซึ่งต้องขอขอบคุณ Taweesak Paepimparath ผู้แปล และ Prathan Thananart ผู้ตรวจทาน มา ณ ที่นี้
ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์
“หากเราเป็นสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาเดียวในแกแล็กซีนี้ เราต้องแน่ใจว่าจะอยู่รอดและดำรงชีวิตต่อได้นี่เรากำลังก้าวสู่ยุคที่อันตรายขึ้นเรื่อยในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ปริมาณประชากรและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสูงขึ้นทวีคูณ ไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่สามารถส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นหรือเลวลงได้ทั้งนั้น แต่ในรหัสพันธุกรรม เรายังคงเห็นแก่ตัวและมีสัญชาตญาณความรุนแรงที่เคยเป็นประโยชน์ต่อการอยู่รอดในอดีต ยากพอควรที่จะหลีกเลี่ยงหายนะที่จะเกิดขึ้นในอีกร้อยปีข้างหน้า ไม่ต้องกล่าวถึงอีกพันปีหรือล้านปี”
“โอกาสเดียวที่เราจะอยู่รอดในระยะยาว คือเราต้องไม่ปิดกั้นตัวเองแค่บนโลก เราต้องเดินทางสู่ห้วงอวกาศ การที่เราสามารถตอบคำถามสำคัญเหล่านี้ได้แสดงถึงความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา แต่หากเราต้องการดำรงเผ่าพันธุ์ให้พ้นร้อยปีข้างหน้า ทางรอดคือห้วงอวกาศครับ ผมจึงสนับสนุนให้มนุษย์ออกเดินทางสู่อวกาศ”
“ตลอดชีวิต ผมแสวงหาที่จะเข้าใจเอกภพ และพยายามจะตอบ คำถามเหล่านี้ ผมโชคดีมาก ที่ความพิการของผมไม่รุนแรงมากนัก แท้จริงแล้ว อาจเป็นความพิการนี้เองที่ทำให้ผมมีเวลามากกว่าผู้อื่น ในการแสวงหาความรู้ เป้าหมายสูงสุดคือทฤษฎีที่สมบูรณ์ของเอกภพ และเราก็กำลังก้าวหน้าไปได้ดี”
Rest in Peace, Stephen Hawking
(Featured Photo หน้าบทความ จาก images.nasa.gov ซึ่งเปิดให้ใช้ได้โดยไม่มีลิขสิทธิครับ)
Categories: Thoughts & Quotes