Investment Articles

การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเสี่ยงกว่า .. เริ่มลงทุนได้ที่ SCB Investment Center

[Special Content]

ตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ชี้ว่าบุคคลธรรมดาในประเทศไทย มีเงินฝากรวมกัน 6.94 ล้านล้านบาท และในจำนวนดังกล่าว เป็นเงินฝากออมทรัพย์ถึง 4.17 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 60% ซึ่งเรารู้กันดีกว่าเงินฝากออมทรัพย์ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด คือโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 0.50% ต่อปี ซึ่งคนไทยจำนวนมากที่มีเงินฝาก ก็มัักจะออกปากว่า “ทำไมดอกเบี้ยต่ำขนาดนี้” กันเป็นเรื่องปกติ

ในทางกลับกัน วลี “ทำไมข้าวของแพงขึ้นทุกวัน” ก็เป็นที่พูดกันติดปากในสังคมไทยมาช้านานเช่นกัน ซึ่งการที่ข้าวของแพงขึ้นเรื่อย ๆ นั้น เป็นภาวะปกติของระบบเศรษฐกิจทั่วโลกที่มี “เงินเฟ้อ” เป็นตัวแปรสำคัญ จากข้อมูลของสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพานิชย์ ซึ่งรวบรวมโดย TIF ชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อที่รวมราคาสินค้ารายการสำคัญไว้ครบถ้วน) มีค่าเฉลี่ยระยะยาวอยู่ประมาณ 2.00% ต่อปี โดยที่บางช่วงเวลาในระยะ 10 ปีล่าสุดนี้ เคยขึ้นไปถึงระดับ 4.00% นั่นหมายความว่า หากเรามีเงินสดกองไว้เฉย ๆ 100,000 บาท ถ้าเราซื้อของตอนนี้ที่ราคา 100 บาท/ชิ้น เราจะซื้อได้ 1,000 ชิ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุก ๆ 1 ปี ข้าวของแพงขึ้นเป็น 102 บาท (แพงขึ้น 2% ต่อปี) ทำให้เงิน 100,000 บาท สามารถซื้อของได้เพียง 980 ชิ้นเท่านั้น หายไป 20 ชิ้น และบางช่วงที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงถึง 4.00% เราจะสามารถซื้อของได้เพียง 961 ชิ้นเท่านั้น หายไปถึง 39 ชิ้น

วิธีที่จะทำให้เราสามารถซื้อของได้ 1,000 ชิ้นเท่าเดิม ก็ต้องอาศัยการทำเงิน 100,000 บาทนั้นให้งอกเงยขึ้นมาเป็นอย่างน้อย 102,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 2.00% ต่อปี แต่เราก็รู้ว่าการฝากออมทรัพย์จะได้ผลตอบแทนเพียง 0.50% ต่อปี เท่ากับว่า แม้เราจะมีการฝากออมทรัพย์ไว้ ไม่ได้เอาเงินฝังตุ่มไว้เฉย ๆ ก็ยังทำให้ความสามารถในการซื้อข้าวของของเราลดลงอยู่ดี คือยิ่งเงินของเราสร้างผลตอบแทนได้ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเท่าใด เราจะยิ่งจนลงเรื่อย ๆ เท่านั้น เพราะซื้อข้าวของได้น้อยลง คุณภาพชีวิตก็ลดลง

และการจะสร้างผลตอบแทนให้ได้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ก็ไม่มีทางอื่นนอกจากนำเงินไปลงทุน

แต่พอพูดถึงเรื่องลงทุน สิ่งแรกที่คนทั่วไปคิดกันคือ “มีความเสี่ยง” ซึ่งก็จริง แต่ความเสี่ยงจากการลงทุนแต่ละแบบนั้นไม่เท่ากัน มีตั้งแต่เสี่ยงน้อยมาก มีความแน่นอนสูง ซึ่งก็จะได้ผลตอบแทนที่คาดหวังในระดับต่ำ ไปจนถึงความเสี่ยงสูง ความแน่นอนในระยะสั้นอาจจะต่ำ ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้มูลค่าจะเป็นเท่าไร แต่ก็จะได้โอกาสรับผลตอบแทนสูงถึงสูงมากในระยะเวลาที่ยาวขึ้น

ซึ่งการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อแต่ยังมีความเสี่ยงไม่มากนัก ก็อาจจะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้หรือกองทุนตราสารหนี้ ส่วนการลงทุนที่มีความเสี่ยงระยะสั้นสูงขึ้นมา แต่เปิดโอกาสได้ผลตอบแทนดีมากในระยะยาว ก็มักจะมองไปที่การลงทุนในหุ้นหรือกองทุนหุ้น โดยที่แต่ละคนจะมีความสามารถในการรับความเสี่ยงไม่เท่ากัน จึงจำเป็นที่จำต้องรู้จักตัวเองให้ดี ก่อนจะเริ่มลงทุนจริง

อย่างไรก็ดี เมื่อมองในระยะยาว ผู้ที่ลงทุนอย่างเหมาะสม รับความเสี่ยงไม่มากไม่น้อยเกินไป ก็มักจะได้ผลตอบแทนที่ดี และอย่างน้อยจะดีกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เขาเหล่านั้น สามารถลดความเสี่ยงของการ “จนลงแบบอัตโนมัติ” ลงไปได้อย่างมาก

แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้ลงทุนอย่างเหมาะสม ยังฝากเงินไว้ในออมทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนต่ำมาก ก็จะยิ่งเผชิญความเสี่ยงด้านการเงินไปเรื่อย ๆ แถมยังเสียทั้งขึ้นทั้งล่อง กล่าวคือ นอกจากเงินที่มีอยู่จะ “เสียกำลังซื้อ” ไปเรื่อย ๆ แล้ว ยัง “เสียโอกาส” ในการลงทุนต่อยอด ไปพร้อม ๆ กันด้วย

การไม่ลงทุนเลยนั้นมีความเสี่ยงและสูญเสียอย่างไรบ้าง ลองดูคลิปสั้น ๆ นี้ประกอบไป เชื่อว่าจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นอีกเยอะ

ส่วนใครที่เห็นความจำเป็นของการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ก็สามารถรับคำปรึกษาได้จาก SCB Investment Center ซึ่งมีสาขากระจายอยู่ที่ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5, เซ็นทรัล พลาซา นครราชสีมา ชั้น 3, เซ็นทรัล พลาซา พระราม 2 ชั้น G, เซ็นทรัล พลาซา ขอนแก่น ชั้น 2, เซ็นทรัล พลาซา พระราม 3 ชั้น 3 และ ซีคอนสแควร์ (ศรีนครินทร์) ชั้น 3 หรือศึกษาเพิ่มเติมได้จาก www.scb.co.th/investmentcenter

Categories: Investment Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *