[Special Content]
เมื่อพูดถึงการลงทุนที่เรียกว่า “หุ้น” นักลงทุนทราบกันดีว่าในระยะยาวแล้ว การลงทุนในหุ้นให้โอกาสได้ผลตอบแทนสูงสุด เมื่อเทียบกับหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนประเภทต่าง ๆ และยิ่งเป็นการลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่ราคาหุ้นโดยทั่วไปยังไม่แพง ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการได้ผลตอบแทนดียิ่งขึ้นในระยะต่อไป
ยุโรป .. การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจท่ามกลางความผันผวน
หากพูดถึงยุโรป หลายคนอาจมีความกังวลในการลงทุนจากเหตุ European Debt Crisis ในปี 2011 จากปัญหาการชำระหนี้ภาครัฐของประเทศกรีซ อิตาลี สเปน โปรตุเกส ที่เป็นต้นเหตุของความผันผวนในระบบเศรษฐกิจการเงินทั่วโลกในช่วงนั้น และยังคงฝังใจมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี 2017 นักลงทุนหลาย ๆ ท่านมีการลดการลงทุนในกลุ่มยุโรปทั้งหมดเนื่องจากมีการเลือกตั้งในประเทศสำคัญ ๆ หลายประเทศ ทั้งฝรั่งเศส เยอรมัน และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ปี 2017 เป็นอีกปีหนึ่งที่หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นมามากพอสมควร นักลงทุนเริ่มกลับมาสนใจในยุโรปอีกครั้ง
เศรษฐกิจกลุ่มยูโร มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้เดิม ทั้งจากการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ ประกอบกับการมีภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย และมีความเชื่อมั่นภาคเอกชนในระดับสูง รวมถึงตลาดแรงงานที่ทยอยฟื้นตัว โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของยุโรปยังเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดมี GDP Growth Rate ในระดับ 2.7% ต่อปี
นอกจากนั้น อัตราการว่างงานก็ลดต่ำลงเรื่อย ๆ นับจากจุดแย่สุดที่เคยขึ้นไปถึงระดับ 12% (กำลังแรงงานทุก ๆ 10 คน จะว่างงานมากกว่า 1 คน) จนล่าสุดอยู่ที่ระดับ 8.5% สะท้อนถึงเศรษฐกิจภายในยุโรปที่มีการขยายตัวจากฐานรากซึ่งจำเป็นต้องมีการจ้างงานเพิ่ม
3 ปัจจัยสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในยุโรป
ช่วงที่ผ่านมาข้อมูลหลายตัวที่ออกมาจากฝั่งยุโรปเริ่มเตะตามากขึ้น ถ้าลองกลับมาดูกลุ่มประเทศในยุโรปอีกครั้งจะพบว่ามีอยู่ 3 ปัจจัยที่แสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชัดเจน
1) เศรษฐกิจดี GDP โต & กำไรบริษัทจดทะเบียนดี
หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในการดูว่าประเทศหรือกลุ่มประเทศไหนมีการเติบโตดีก็คือ GDP นั่นเอง GDP ในอดีตเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม แต่ GDP ในอนาคตเป็นสิ่งที่น่าสนใจกว่า จากรูปด้านล่างซ้ายเป็นข้อมูลจาก UBS เส้นสีฟ้าแสดงถึงการคาดการณ์ GDP ของทางสหรัฐฯ และเส้นสีน้ำเงินเข้มแสดงถึงคาดการณ์การเติบโตของฝั่งยุโรป ค่อนข้างชัดเจนครับว่าแนวโน้มของ GDP ของยุโรปมีการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ต่อเนื่องเป็นบันไดที่ชัดเจน
กราฟด้านล่างขวาอาจดูยากซักนิด มันคืออัตราการเติบโตของบริษัทต่างๆที่สรุปมาอยู่ในรูปของ Earning Per Share (EPS) ซึ่งเป็นการบอกกำไรของบริษัทจดทะเบียนในยุโรปไม่รวมสหราชอณาจักร ดูง่ายๆ คือ เมื่อก่อนต้นปีตั้งไว้สูงและโดนปรับลดลงทุกปี แต่ตั้งแต่ปี 2017 กำไรเริ่มนิ่งไม่ค่อยมีการปรับลดลง แสดงถึงความมั่นใจของนักวิเคราะห์ต่างๆทั่วโลกใน “คุณภาพของกำไร” ของบริษัทจดทะเบียนในยุโรป
(ประมาณการณ์การเติบโตของ GDP ยูโรโซน โดย UBS ณ 31 มกราคม 2561)
(ประมาณการณ์การเติบโตของกำไรต่อหุ้นของดัชนี MSCI Europe ex UK โดย Barclays ณ 1 กุมภาพันธ์ 2561)
2) สหภาพยุโรปแข็งแรง
หนึ่งในสิ่งที่ทำลายความมั่นใจของนักลงทุน คือ การที่สหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK) ขอออกจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ทำให้นักลงทุนเริ่มสงสัยในความแน่นแฟ้นและเป็นหนึ่งเดียวกันของ EU ทิศทางการลงทุนต่าง ๆ จึงมีความไม่แน่นอนสูง และบริษัทที่เข้าไปลงทุนในยุโรปต้องใช้ความระมัดระวังมากและมีการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้
กราฟด้านล่างเป็นแบบสำรวจความคิดเห็นของคนในยุโรป 19 ประเทศ จำนวนประมาณ 19,000 คน ซึ่งระยะหลังตรงลูกศรจะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังคงต้องการการมีอยู่ของสหภาพยุโรปและยังคงต้องการใช้เงินยูโรต่อไป แม้จะมีข่าวเรื่องการแตกอยู่เป็นระยะ แต่จากแบบสำรวจคนในประเทศต่าง ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยากให้เกิดการแตกกับของสหภาพยุโรปและเงินยูโร ทำให้เรื่องนี้ลดความรุนแรงลงและทำให้ความเป็นยุโรปแข็งแรงมากขึ้น
(ผลการสอบถามความเห็นประชาชนในยูโรโซนเกี่ยวกับการสนับสนุนการมีอยู่ของสหภาพยุโรปและสกุลเงินยูโร
โดย European Commission’s Eurobarometer Survey ณ 20 ธันวาคม 2560)
3) หุ้นยุโรปโดยรวมราคายังไม่แพง
เศรษฐกิจจะดีอย่างไรแต่ถ้าหุ้นมีราคาแพงโอกาสทำกำไรก็คงไม่มาก เวลาที่วัดความถูกแพงของหุ้นต่างๆเครื่องมือหลักที่ใช้วัดก็คือค่า Price Per Earnign (P/E) นั่นเอง จากกราฟทางด้านล่างซ้ายจะเห็นว่า P/E ของหุ้นยุโรปจัดว่าไม่ได้ถูกนักถ้าเทียบกับอดีต แต่ในสถานะการณ์ปัจจุบันเมื่อเทียบกับสหรัฐฯแล้วเรียกว่ายังถูกกว่าค่อนข้างมาก
อีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้วัดความถูกแพงคือ Price Per Book Value (P/B) ซึ่งกราฟด้านล่างขวาได้นำเอา P/B ของยุโรปมาหารสหรัฐฯเพื่อเปรียบเทียบกัน เวลาดูถ้ายิ่งต่ำแสดงว่ายุโรปถูกกว่าสหรัฐฯ ซึ่งจะเห็นว่าเวลานี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่หุ้นยุโรปถูกมาก ๆ เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ
(ข้อมูลจาก บลจ.กรุงไทย ณ วันที่ 31 ม.ค. 2561)
แล้วทำไมต้องเป็นหุ้นขนาดเล็ก?
ตลาดหุ้นในยุโรปก็มีการแบ่งขนาดของหุ้นเหมือนๆกับในประเทศไทย มีการแบ่งเป็น หุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลาง และหุ้นขนาดเล็กเหมือนกัน ในแง่ของผลตอบแทนและความผันผวนหุ้นขนาดเล็กในยุโรปให้ผลตอบแทนดีที่สุดโดยเฉพาะในระยะยาว มากกว่าหุ้นขนาดกลางและเล็กอย่างมีนัยสำคัญ ในแง่ความผันผวนนั้นยิ่งต่ำยิ่งดี หุ้นขนาดเล็กในยุโรปมีความผันผวนที่ค่อยข้างต่ำมากสำหรับการลงทุนระยะยาวเช่นกัน
(ผลตอบแทนการลงทุน ข้อมูลจาก Morningstar ณ 31 มีนาคม 2561)
(Sharpe Ratio – ผลตอบแทนเทียบกับวคามผันผวน – ข้อมูลจาก Morningstar ณ 31 มีนาคม 2561)
ช่องทางการลงทุน
ปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด หรือ KTAM ได้นำเสนอกองทุนเปิดเคแทม ยูโรเปียน อิควิตี้ ฟันด์ หรือ KT-EURO ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กในยุโรปยกเว้นอังกฤษ ผ่านกองทุนหลัก Invesco Continental European Small Cap Equity Fund โดยสถานะล่าสุด ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 กองทุนนี้เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต 28.5% บริการทางการเงิน 20.6% สินค้าอุปโภคบริโภค 13.1% วัตถุดิบการผลิต 10.4% เทคโนโลยีสารสนเทศ 9.1% พลังงาน 7.5% ฯลฯ และมีการกระจายเงินลงทุนไปในประเทศฝรั่งเศส 23.1% เนเธอร์แลนด์ 16.6% อิตาลี 15.8% สเปน 6.9% ฟินแลนด์ 6.4% ฯลฯ (ที่มา: ข้อมูลจาก บลจ. กรุงไทย)
ซึ่งการเลือกหุ้นของกองทุนนี้ จะเน้นพิจารณาจากจุดเด่นของแต่ละกิจการเป็นหลัก ไม่ได้เน้นยึดติดกับสัดส่วนในดัชนี (ถ้าดัชนีหลัก ๆ มีหุ้นบางตัวอยู่ แต่พิจารณาแล้วไม่น่าสนใจ ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อให้มีสัดส่วนตามดัชนีก็ได้) ซึ่งสร้างความคล่องตัวให้การบริหารเงินลงทุนได้อีกทางหนึ่ง
ด้านผลดำเนินงานกองทุน KT-EURO ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนในประเทศไทยมาประมาณ 4 ปี สร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนแล้ว 33.09% และในช่วง 1 ปีล่าสุด ให้ผลตอบแทน 7.92% โดยมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังจากช่วงต้นปีที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวน และที่น่าสนใจคือ กองทุนนี้ไม่จ่ายปันผล ทำให้ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์จากการลงทุนอย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียภาษี และหากต้องการเงินสดเมื่อไร ก็สามารถขายหน่วยลงทุนได้ทุกเมื่อตามที่ต้องการ แต่กระนั้น หากไม่จำเป็นต้องใช้เงิน ก็แนะนำให้ถือลงทุนยาวไปจะดีที่สุด
(กราฟจากบริการเอสเพนโดยไทยเควสต์ ณ วันที่ 2 พ.ค. 2561 — ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)
(ข้อมูลจาก ktam.co.th โดย Benchmark ได้แก่ Euromoney Smaller Europe ex-UK Index-TR ในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ
คำนวณโดยปรับส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลบาท — ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)
โดยสรุปแล้ว กองทุน KT-EURO นำเสนอจุดเด่นดังนี้
- เปิดโอกาสรับผลตอบแทนดีจากเศรษฐกิจยุโรปที่มีแนวโน้มขยายตัว และราคาหุ้นโดยทั่วไปยังไม่แพงมาก
- เน้นลงทุนในหุ้นเล็กของยุโรป ซึ่งที่ผ่านมามีความชัดเจนว่าให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นใหญ่และหุ้นกลาง
- กองทุนมีความยืดหยุ่นในการบริหารเงินลงทุน
- กองทุนไม่มีการจ่ายปันผล ทำให้ผู้ลงทุนเพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนเต็มที่ ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%
อย่างไรก็ดีกองทุน KT-EURO ก็มีความเสี่ยงหลัก ๆ ในด้านความผันผวนตามลักษณะการลงทุนในหุ้นสามัญ ซึ่งเป็นการเน้นลงทุนในหุ้นภูมิใดภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ รวมถึงยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศร่วมอยู่ด้วย โดยมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
ทั้งหมดนี้ หากนักลงทุนสนใจลงทุนในกองทุน KT-EURO เพื่อรับโอกาสได้ผลตอบแทนดี แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/KTAMKT-EURO หรือ สอบถาม บลจ.กรุงไทย โทร 02 686 6100 กด 9
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
Categories: Investment Articles