Investment Articles

แนวคิดการคัดเลือกลงทุนในหุ้นนวัตกรรม ของ บลจ. ระดับโลก Wellington Management

ในยุคนี้นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมากตั้งแต่ตื่นจนนอน เราอ่านข่าวสดใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทุกเวลาและทุกที่ที่ต้องการ โดยไม่ต้องรออ่านหนังสือพิมพ์ที่มาใหม่แค่วันละครั้งในตอนเช้า เราติดต่อกับผู้คนอื่นได้อย่างสะดวกผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ต้องเดินตากแดดไปหยอดเหรียญที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งช็อปปิ้งของจากทั่วโลกได้จากเว็บอีคอมเมิร์ซที่จัดส่งถึงประตูบ้าน ไม่ต้องลำบากเสาะหาและเดินทางไปซื้อเอง ไม่เว้นแต่ธุรกรรมทางการเงินก็ทำได้ง่าย ๆ ผ่าน Internet Banking และถ้าโชคไม่ดีเกิดเจ็บป่วย วงการแพทย์ในยุคนี้ก็มีการค้นพบที่ก้าวล้ำอยู่เสมอ จนสามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น และรักษาโรคที่เมื่อก่อนเป็นแล้วแทบจะหมดทางรักษา ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นเรื่อย ๆ

เรียกได้ว่า นวัตกรรมทำให้คุณภาพชีวิตมนุษย์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้คิดค้นและประยุกต์ใช้นวัตกรรมเอง นอกจากจะได้ชื่อเสียงในฐานะที่สร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติแล้ว ยังมีกำไรในเชิงเศรษฐกิจในระดับสูงด้วยเช่นกัน

ไม่เพียงแต่ในกลุ่มธุรกิจ IT เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม แต่จะเห็นได้ว่านวัตกรรมกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ที่ผ่านมาเราจึงเห็นบริษัทหน้าใหม่ซึ่งมีนวัตกรรม ทั้งในเชิงกระบวนการทำธุรกิจ รวมไปถึงการนำเสนอสินค้าและบริการ สามารถก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าของวงการธุรกิจระดับโลกได้ในช่วงระยะเวลารวดเร็ว เช่น Facebook Alibaba หรือ Netflix

จะดีไหม ถ้าลงทุนกับอนาคตตั้งแต่วันนี้

Wellington Management Company บริษัทจัดการลงทุนชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญ (33 ล้านล้านบาท) ได้เล็งเห็นว่า ผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณและ/หรือมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก แซงหน้าการทุ่มใช้แรงงาน มาตั้งแต่ทศวรรษก่อน และยิ่งมีสัดส่วนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต นั่นหมายความว่าจำนวนและคุณภาพการผลิตจะเข้ามามีบทบาทมากกว่าการใช้แรงงานจากคน

(ที่มา: Wellington 31 ก.ค. 2561)

นอกจากนี้  แนวโน้มของรายได้ธุรกิจที่มีนวัตกรรม ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ ทำให้ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรม แม้จะมีความผันผวนในบางช่วง แต่ก็สามารถขยับขึ้นได้ต่อเนื่องอย่างชัดเจนในระยะยาว

(ที่มา: Wellington 31 ก.ค. 2561)

Wellington Management Company มีประสบการณ์บริหารกองทุนด้วยกลยุทธ์ Global Innovation โดยใช้แนวคิดที่ครบมุมมองในการคัดเลือกหุ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังนี้

  1. Trend หรือ การวิเคราะห์ขนาดและโอกาสของแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ และสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำธุรกิจในองค์กรต่าง ๆ เช่น โลกกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยที่มีจำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น หรือ Aging Society และ ประชากรสูงวัยยังต้องการ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการรักษาโรค และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) จึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสที่จะเติบโตสูงและทำตลาดใหม่ได้
  2. Innovation หรือ การวิเคราะห์ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และคุณภาพของการบริหาร ธุรกิจใหม่ ๆ ที่สร้างตัวเองจาก Innovation กลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญในอุตสาหกรรม แทนที่หลาย ๆ บริษัทที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่หรือผู้เล่นคนเก่า Innovation จึงเป็นเหมือนกุญแจสำคัญของธุรกิจที่หากสร้างขึ้นมาได้จะทำให้สามารถแข่งขันและก้าวไปเหนือคู่แข่งได้ เช่น ในปี 2007 บริษัท Apple ได้ออกผลิตภัณฑ์ iPhone ที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คน และ พลิกโฉมอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือที่ไม่ได้เป็นแค่อุปกรณ์สื่อสาร แต่กลายเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความบันเทิง เป็นแหล่งเรียนรู้ และอีกหลาย ๆ อย่างราวกับเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทำให้สร้างกำไรได้อย่างมากมายมหาศาล แซงหน้าคู่แข่งผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายอื่น ๆ อย่างไม่เห็นฝุ่น
  3. Barrier หรือ การวิเคราะห์ความสามารถในการป้องกันผู้เล่นรายใหม่ ๆ เข้ามาในตลาด ธุรกิจที่ตลาดเติบโตสูงแต่ถ้ามี Barrier ต่ำก็จะทำให้มีคู่แข่งเข้ามาเรื่อย ๆ และมีการแข่งขันที่สูงขึ้น อาจจะส่งผลให้บริษัทมีกำไรและรายได้ลดลงได้ แต่หากธุรกิจที่สามารถสร้าง Barrier ได้สูง จะทำให้คู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ยาก และบริษัทกลายเป็นผู้ครองตลาดได้ เช่น ธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ยาก เนื่องจากการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ มี Switching cost ที่สูง และต้องอาศัยความคุ้นเคยและความไว้ใจของลูกค้าในการเข้ามาใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงชื่อเสียงที่ต้องมีการสั่งสมมาในระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยผลิตภัณฑ์ และต้นทุนอุปกรณ์การแพทย์ค่อนข้างสูง จึงทำให้ผู้เล่นรายใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ได้ยาก
  4. Risks หรือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะของธุรกิจเอง และปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทได้ เช่น ลักษณะธุรกิจ E-commerce ที่ทำผ่านโลกออนไลน์ อาจจะเจอความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า หากข้อมูลของลูกค้าถูกเปิดเผย อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท และโดนฟ้องร้องจากลูกค้าได้

(ที่มา: Wellington, 31 ก.ค. 2561)

 

ตัวอย่างบริษัทที่สำคัญ 3 ราย ที่ Wellington Global Innovation Fund เลือกลงทุนในกองทุนภายใต้การบริหารปัจจุบัน (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2561)และได้ผ่านการวิเคราะห์ทั้ง 4 มุมมองดังกล่าว เช่น

  1. Alphabet, Inc
    • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
    • ลักษณะธุรกิจ: ผู้นำด้านบริการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เนท
    • Trend: ผู้ใช้บริการกำลังตื่นตัวกับ Big Data และเทคโนโลยี Cloud
    • Innovation: เป็นองค์กรที่มีนวัตกรรมระดับสูง ซึ่งสามารถขับเคลือนการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความสำคัญกับการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน และความสามารถนำการข้อมูลมหาศาลที่องค์กรมีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจ
    • Barrier: มีความแข็งแกร่งมากในตลาดที่เชี่ยวชาญ แทบจะไม่มีคู่แข่ง
    • Risk: ตลาดมีการแข่งขันสูง และมีความไม่แน่นอนในการสร้างรายได้ในสินทรัพย์บางประเภท
  1. Eisai Co.,Ltd
    • อุตสาหกรรม: บริการด้านสุขภาพ (Health Care)
    • ลักษณะธุรกิจ: วิจัย ผลิต และจำหน่ายยารักษาโรค
    • Trend: สังคมผู้สูงอายุส่งผลบวกต่อความต้องการใช้ยา นวัตกรรมมีการพัฒนาก้าวหน้าได้รวดเร็วขึ้น
    • Innovation : ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ และยารักษาโรคมะเร็ง
    • Barrier: เป็นเลิศในกระบวนการวิจัยและผลิตยา เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยากต่อการเข้ามาแข่งขัน
    • Risk: การจำหน่ายยาในเชิงการค้ามีขั้นตอนซับซ้อนและใช้เวลานาน ต้นทุนในการพัฒนาอยู่ในระดับสูง และได้รับแรงกดดันทางการเมืองในการนำยาไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น
  1. Amazon, Inc
    • อุตสาหกรรม : สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary)
    • ลักษณะธุรกิจ : E-Commerce และผู้ให้บริการเทคโนโลยี Cloud
    • Trend : ผู้บริโภคทั่วโลกนิยมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และธุรกิจหันมาใช้เทคโนโลยี Cloud มากขึ้นเรื่อย ๆ
    • Innovation: ระบบงานหลังบ้านมีความอัตโนมัติสูง ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความเร็วในการให้บริการ ตลอดจนบริการด้าน Cloud ก็มีความก้าวหน้ามาก
    • Barrier: ธุรกิจมีขนาดใหญ่ มีความประหยัดต่อขนาด และมีการกระจายธุรกิจไปหลากหลาย ยากที่คู่แข่งจะสู้ได้
    • Risk: ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบจากภาครัฐ เช่น การป้องกันการผูกขาดทางการค้า

เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ร่วมเป็นเจ้าของและได้รับกำไรจากธุรกิจที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรม บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด กำลังเปิดขาย IPO ระหว่างวันที่ 16-26 ตุลาคม 2561 กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินโนเวชั่น ฟันด์ หรือ United Global Innovation Fund (UNI) ระดับความเสี่ยง 6 มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ ของผู้จัดการกองทุน ซึ่งมี Wellington Management เป็น Sub-Investment Manager จากแนวคิดในการคัดกรองหุ้นทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าว ผสานกับความสามารถของทีมผู้จัดการกองทุนและนักวิเคราะห์ที่เปี่ยมประสบการณ์ในอุตสาหกรรมกว่า 20 ปี นับเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยในการเข้าถึงการลงทุนหุ้นนวัตกรรมระดับโลก ได้อย่างง่าย ๆ ผ่านกองทุนรวม

ใครที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำความเข้าใจกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ที่ www.uobam.co.th หรือ โทร.0-2786-2222

[Special Content]

คำเตือน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน  กองทุนมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม  แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย กองทุนอาจมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) เฉพาะกรณีที่ตราสารหนี้นั้นได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (Investment grade) ขณะที่กองทุนลงทุนเท่านั้น

Categories: Investment Articles