ในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย set.or.th รวมถึงที่ settrade.com เมื่อเรากดดูข้อมูลบริษัทต่าง ๆ ก็จะมีรายละเอียดผู้ถือหุ้นรายใหญ่แสดงไว้ด้วย
อย่างในรูปด้านล่างนี้ เป็นข้อมูลของ PTT ซึ่งเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาด (ไม่ใช่มูลค่าการตลาดนะครับ) ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นั่นคือประมาณ 1.35 ล้านล้านบาท โดยมูลค่าตลาดนั้นก็คิดมาจาก [จำนวนหุ้นสามัญทัั้งหมด] x [ราคาหุ้น]

โดยในเว็บไซต์จะแสดงเฉพาะรายชื่อ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” เท่านั้น ซึ่งในที่นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะหมายความถึง ผู้ที่ถือหุ้นตั้งแต่ 0.50% ขึ้นไป (นิยามผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริบทอื่น หรือที่กำหนดโดยองค์กรอื่น เช่น ของ ก.ล.ต. ก็อาจต่างไปจากนี้ได้นะครับ)
อย่างในกรณีของ PTT ซึ่งปัจจุบันมีหุ้นสามัญอยู่ 28,562,996,250 หุ้น สัดส่วน 0.50% ก็เท่ากับ 142,814,982 หุ้น (ปัดขึ้น) ขณะที่ราคาหุ้น PTT ล่าสุดอยู่ที่ 47-48 บาท เท่ากับว่า ใครที่อยากมีรายชื่อขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ PTT ต้องมีหุ้นเป็นมูลค่าประมาณ 6,712 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย
เห็นตัวเลขมหาศาลขนาดนี้แล้วก็ผงะ ชาตินี้คงหมดหวังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ .. แต่ช้าก่อน เพราะเรายังมีหุ้นอีกด้านของตาราง นั่นคือกลุ่มบริษัทที่มีมูลค่าตลาดต่ำ
ซึ่ง 5 อันดับของบริษัทที่มีมูลค่าตลาดต่ำสุด นั่นคือใช้เงินน้อยสุดในการเข้าไปติดโผ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ได้แก่





สรุปว่า ใช้เงิน 500,000 บาท แบบมีทอน ก็สามารถได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ได้แล้ว .. แต่กระนั้น การถือหุ้นระดับ 0.50% ในทางปฏิบัติก็ยังไม่สามารถเรียกว่าเป็น “เจ้าของ” ซึ่งจะมีมีอำนาจในการตัดสินใจกำหนดทิศทางบริษัทได้จริง .. ซึ่งส่วนตัวคิดว่า อย่างน้อย ๆ หากจะ “มีเซย์” ในการตั้งกรรมการ หรือผู้บริหารหลัก (สิทธิในการเสนอชื่อในฐานะผู้ถือหุ้น ไม่เหมือนอิทธิพลในการผลักดันให้คนนั้นได้ตำแหน่งจริง ๆ) ก็ต้องถือหุ้นสัก 7%-10% ขึ้นไป และถ้าจะเรียกว่าเป็นเจ้าของตัวจริง แบบไม่ถูกค่อนแคะ ก็ควรจะมีหุ้นมากกว่า 50% หรืออย่างน้อยต้องถือหุ้นเป็นสัดส่วนสูงสุดของบริษัทนั้น (บางแห่งผู้ถือหุ้นกระจายตัว ถือแค่ 15%-20% ก็เยอะสุดแล้ว) ดังนั้นแล้ว ต่อให้ถือหุ้นแตะระดับ 0.50% นิด ๆ ในทางปฏิบัติ ในเชิงธุรกิจ ก็ยังนับว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัทนั้นอยู่ดี
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือไม่ ก็อาจไม่สำคัญเท่ากับการลงทุนแล้วได้ผลกำไรดีอย่างที่ต้องการ 🙂
Advertisement

Categories: Investment Articles