ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ทั้งที่เกิดจากผลกระทบของสงครามการค้าและเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ๆ เอง ซึ่งจะเห็นได้จากธนาคารกลางหลายประเทศที่เริ่มส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในประเทศไทยเอง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่สองในรอบ 4 ปี ลงอีก 0.25% ลงมาอยู่ที่ 1.25% ต่อปี และเป็นระดับเดียวกับที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทย โดยเป็นการส่งสัญญาณโดยตรงต่อระดับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ผู้ที่ต้องการรักษาเงินต้นด้วยการฝากเงินไว้กับธนาคาร ต้องเผชิญความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ระดับต่ำไปอีกสักพัก
อยากรักษาเงินต้น แต่ก็อยากได้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงิน
ในสถานการณ์เช่นนี้ ก็ยังมีสินทรัพย์อย่างหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะการรับรายได้คล้ายการฝากเงินแต่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ทั้งในรูปแบบดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon rate) และโอกาสได้กำไรจากราคาตราสาร (Capital gain) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปมีแนวโน้มต่ำลง รวมถึงยังมีสภาพคล่อง สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งยังสามารถขายคืนได้ครบก่อนกำหนดอีกด้วย
หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ การฝากออมทรัพย์ในธนาคารให้ดอกเบี้ยเพียง 0.5% ต่อปี เทียบกับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุคงเหลือ 1 ปี ซึ่งมีผลตอบแทน 1.32% ต่อปี (อ้างอิง ThaiBMA ณ 8 พ.ย. 62) หากเรามีเงิน 10,000,000 บาท เมื่อครบเวลา 1 ปี เฉพาะดอกเบี้ยจ่ายที่ได้รับจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ก็สามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 82,000 บาท ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลกลับได้รับความยอมรับว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์เสียอีก
หรือ หากเราลองเทียบการฝากออมทรัพย์ในธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี กับการลงทุนในหู้กู้ อายุ 1 ปี ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ AA ซึ่งมีผลตอบแทน 2.99% ต่อปี ด้วยจำนวนเงิน 10,000,000 บาทเท่ากัน ก็จะพบว่าการลงทุนในหุ้นกู้ระดับ Investment grade นั้นก็ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินถึง 249,000 บาทเลยทีเดียว

จะลงทุนในตราสารหนี้ ต้องทำอย่างไร?
ต่อเนื่องจากบทความตอนก่อนหน้าเรื่อง “เปิดความเชื่อ & ความจริง 9 ข้อของการลงทุนตราสารหนี้” ที่ TIF ได้อธิบายการซื้อขายตราสารหนี้ ซึ่งสามารถทำได้ผ่าน 2 ตลาด คือ
- ตลาดแรก (Primary market) เปรียบเหมือนการซื้อหุ้นออกใหม่ IPO และ
- ตลาดรอง (Secondary market) คล้ายการซื้อหุ้นผ่าน SET
ซึ่งก็มีหลาย ๆ กรณีที่นักลงทุนหลายท่านพลาดการซื้อหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาลจากตลาดแรก โดยไม่รู้ว่าสามารถซื้อจากตลาดรองได้เช่นกัน วันนี้ทาง TIF ร่วมกับทางธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (ธนาคารฯ) มานำเสนอช่องทางและวิธีการ เพื่อให้นักลงทุนไม่ต้องนั่งเศร้าเมื่อพลาดจากตลาดแรก และที่สำคัญไม่ต้องเสียโอกาสการลงทุนอีกต่อไป จากที่ TIF ได้พูดคุยกับทางธนาคารฯ ทำให้เห็นว่าตลาดตราสารหนี้นั้นมีขนาดใหญ่ และสามารถซื้อ-ขายได้สะดวกกว่าแต่ก่อนมาก (จากประสบการณ์ที่ผู้ก่อตั้ง TIF เคยเป็นนักลงทุนสถาบันอยู่มากกว่า 10 ปี) เพื่อให้เห็นภาพเรามาลองไล่เรียงสภาพตลาดตราสารหนี้ปัจจุบันให้ดูเป็นข้อ ๆ ดังนี้
- ตลาดตราสารหนี้ปัจจุบันใหญ่ประมาณ 13 ล้านล้านบาท (25 ปีก่อน ขนาดเพียง 3 หมื่นล้านบาท)
- หุ้นกู้ตลาดแรกออกเสนอขายประมาณ 1 ล้านล้านบาท ต่อปี (จากเดิมเพียงหลักหมื่นล้านบาทต่อปี)
- ส่วนตลาดรองมีมูลค่าซื้อขายต่อวันประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ต่อวัน
- มีธนาคาร 14 บริษัท และบริษัทหลักทรัพย์ 35 บริษัท ที่ให้บริการธุรกิจตราสารหนี้
- มีหน่วยงานกลางอย่าง “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” (หรือ รู้จักในชื่อ “ThaiBMA”) ที่ทำหน้าที่ช่วยกำกับดูแลการซื้อขายในตลาดรอง การเป็นศูนย์ข้อมูลตราสารหนี้ไทย การจัดทำราคายุติธรรมของตราสารหนี้ การกำหนดมาตรฐานรวมถึงส่งเสริมความรู้ และที่สำคัญคือช่วยพัฒนาตลาดตราสารหนี้
จะเห็นว่าตลาดตราสารหนี้ทั้งใหญ่ มีปริมาณซื้อขายสูง และสามารถซื้อ-ขายได้สะดวก ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายผ่านตลอดรองได้ทุกวัน โดยรูปแบบหลักเป็นการเจรจาต่อรองราคาระหว่างคนจะซื้อจะขายผ่านผู้ให้บริการรับซื้อเสนอขายที่มีมากมาย ทั้งที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ (“บริษัท”) และสถาบันการเงินขนาดใหญ่กว่า เช่นธนาคารพาณิชย์ (“ธนาคาร”) หรือในหลายกรณี ก็สามารถซื้อขายกับผู้ให้บริการนั้นโดยตรงได้เช่นกัน (บริษัท หรือธนาคารรับซื้อไว้เอง)
ซึ่งธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ก็เป็นหนี่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้งตราสารหนี้ที่ออกตลาดแรก และบริการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง
ด้านภาพรวม ตลาดแรก สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (อายุคงเหลือเกิน 1 ปี) ที่ขึ้นทะเบียนใหม่ ตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค. – ต.ค. 62 ที่ผ่านมา พบว่ามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 823,884 ล้านบาท ซึ่งธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นหนึ่งในธนาคารที่มีมูลค่าจัดจำหน่ายตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวในตลาดแรกติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศไทย โดยคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 41,913 ล้านบาท

ในส่วนภาพรวมของ ตลาดรอง ด้านการซื้อขายตราสารหนี้ระยะยาว ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ในอันดับ 1 ของประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค. – ต.ค. 62 มีมูลค่าการซื้อขาย 635,175 ล้านบาท โดยทั้งตลาดในช่วงเดียวกัน มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7,365,808 ล้านบาท

ลงทุนตราสารหนี้อย่างมั่นใจได้ทุกช่วงเวลากับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
บริการซื้อขายตราสารหนี้ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ให้บริการทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง ซึ่งแม้นักลงทุนจะพลาดการซื้อตราสารหนี้จากตลาดแรก และต้องการมีบริการซื้อขายผ่านตลาดรอง เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนกลุ่มที่มีเงินเหลือ และอยากเพิ่มผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ โดยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย นำเสนอหุ้นกู้ได้ทุกวันที่ต้องการ อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุญาตถูกต้องจากสำนักงาน ก.ล.ต. คอยให้คำปรึกษาและช่วยคัดสรรตราสารหนี้ที่มีศักยภาพในระดับ Investment grade เพื่อให้นักลงทุนได้รับคำแนะนำลงทุนที่เหมาะสมและทันการณ์กับภาวะตลาดในช่วงนั้น ๆ
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผู้ให้บริการในธุรกิจตราสารหนี้ครบวงจรของอาเซียน
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย อยู่ในกลุ่มซีไอเอ็มบี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินใหญ่อันดับ 2 ของประเทศมาเลเซีย และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจการเงินครบวงจรชั้นนำของอาเซียน โดยมีธุรกิจหลักคือ การให้บริการและนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุม ตั้งแต่บริการธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ บริการด้านวาณิชธนกิจ ธนาคารอิสลาม และการบริหารสินทรัพย์


และด้วยจุดเด่นของกลุ่มธุรกิจหลักซึ่งสามารถให้บริการทางการเงินครบวงจรและมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค ทำให้กลุ่มซีไอเอ็มบี ประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านการเป็นผู้ให้บริการซื้อขายตราสารหนี้ โดยมีมูลค่าการซื้อขายเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน ทั้งในประเทศมาเลเซีย กลุ่มประเทศอาเซียน และตลาดศุกูก (Global Islamic)



สำหรับผู้อ่านที่สนใจบริการตราสารหนี้ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และอดใจรอไม่ไหว สำหรับโพสต์หน้าที่จะอธิบายถึงรายละเอียดของบริการ สามารถติดต่อธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ทันที ทุกสาขา หรือติดต่อ CIMB THAI Care Center โทร. 02-626-7777
[Special Content]

Categories: Investment Articles, Special Content