[ Special Content ]
ในการทำธุรกิจ ต่อให้เรามีความเชี่ยวชาญ เรียกได้ว่าเป็นปราชญ์ในวงการ แต่เมื่อกับเจอโจทย์ใหม่ ๆ ความท้าทายใหม่ ๆ หรือ ปัญหาใหม่ ๆ การที่จะถือ “ความเป็นปราชญ์” ของตัวเองล้วน ๆ แล้วลุยเดินหน้าไปเลยในโจทย์ ความท้าทาย หรือปัญหาใหม่ ๆ นั้น โอกาสที่เราจะพลาดก็มีสูง หรือไม่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะ “ค้นพบ” ว่าทางออกที่ถูกต้องได้ผลดีนั้นคืออะไร ซึ่งในหลายครั้ง ก็อาจนานไปจนธุรกิจเกิดความเสียหายใหญ่โต หรือไม่ก็โดนคู่แข่งแซงหน้าไปหลายขุม
ด้วยข้อเท็จจริงเช่นนี้ ที่ปรึกษาธุรกิจ (Business Development Consultant) จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาในสารบบ เพื่อเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจที่กำลังเผชิญความท้าทาย สามารถเดินหน้าต่อได้อย่าง “มั่นใจขึ้น” และ “เร็วขึ้น”
จากประสบการณ์ส่วนตัวของ TIF ที่ได้เข้าไปร่วมในดีลควบรวมกิจการขนาดใหญ่ให้กับบริษัทจดทะเบียน ก็ต้องมีการใช้ที่ปรึกษาธุรกิจหลายด้านประกอบกันในดีลเดียว เช่น ต้องมี “ที่ปรึกษากฎหมาย” มาช่วยร่างสัญญาที่รัดกุมและเป็นธรรม รวมถึงช่วยแนะนำขั้นตอนดำเนินการที่รวดเร็วแต่ไม่ขัดเกณฑ์ภาครัฐ และมี “ที่ปรึกษาทางการเงิน” เพื่อช่วยประเมินมูลค่าที่เหมาะสมให้สาธารณะชนยอมรับ รวมถึงช่วยแนะนำวิธีการที่จะประหยัดต้นทุนหรือช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับดีลเพียงแค่เปลี่ยนวิธีคิด
โดย “ที่ปรึกษาธุรกิจ” นั้นมีหลายลักษณะ บ้างก็เป็นบริษัทระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านแผนและกลยุทธ์ธุรกิจ บ้างก็เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น IT หรือ Digital บ้างก็เน้นเรื่องการจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารจัดการพนักงานสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่ TIF พอทราบมา ก็จะครอบคลุมบริษัทขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้น หากจะตอบคำถามที่เป็นหัวข้อของบทความนี้ ว่า ที่ปรึกษาธุรกิจนั้น มีใครเขาใช้กันบ้าง ก็พอจะตอบได้ว่า “ใคร ๆ เขาก็ใช้กัน”
อย่างไรก็ดี หลายครั้ง TIF จะได้ยินเสียงบ่นมาจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ ผู้บริหารระดับสูงว่า “ที่ปรึกษาเขาเป็นที่ปรึกษาจริงหรือ” กล่าวคือ ที่ปรึกษาจะวางแผนและนำเสนอกลยุทธ์ให้แก่เจ้าของหรือผู้บริหาร ผ่านรายงานหรือการนำเสนอในรูปแบบสวยงาม แต่ในหลายโอกาสพบว่า ผู้บริหารหรือเจ้าของ นำไปปฏิบัติจริงได้ยากหรือไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในหลายโอกาสถึงกับต้องโยนคำแนะนำนั้นทิ้งไป
TIF จึงเห็นแนวโน้มจากภาคธุรกิจว่า แผนกลยุทธ์ที่สวยงามหรือซับซ้อน อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้บริหารคาดหวังอีกต่อไป โดยเฉพาะ เมื่อสภาพเศรษฐกิจกำหนดให้ทุกบริษัทต้องรีบปรับตัว สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารต้องการมากกว่าคือ “ผลลัพธ์” ความท้าทายของผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการจึงอยู่ที่ว่า การใช้ที่ปรึกษาธุรกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งสามารถตอบโจทย์ด้านการคิดวิเคราะห์ได้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่มิติในด้านการลงมือทำยังต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ จะยังสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่หรือไม่จากการมีที่ปรึกษาธุรกิจ
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ TIF ได้มีโอกาสรู้จักบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่น “LiB Consulting” (ลิบ คอนซัลติ้ง) ซึ่งนำเสนอว่า การลงมือทำก็เป็นสิ่งที่ที่ปรึกษาธุรกิจซึ่งเข้าใจโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริงจะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยให้ได้ด้วย โดย LiB Consulting เล่าให้ฟังถึงรูปแบบการให้คำปรึกษา “ทีมเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาธุรกิจ” ว่าการให้คำปรึกษาที่เน้นให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้จริง คือหัวใจการเติบโตของบริษัทแห่งนี้ในญี่ปุ่น

ทุกคนคงทราบว่าที่ญี่ปุ่นนั้น เศรษฐกิจมีการเติบโตช้าตามสภาวะ Lost Decade ขณะที่พัฒนาการของอุตสาหกรรมในระดับโลกมีความก้าวหน้าไปมาก ทางด้านผู้บริโภคที่มีจำนวนน้อยลงตามแนวโน้มจำนวนประชากร กลับมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารที่ญี่ปุ่นเองก็มีโจทย์ในการสร้างการเติบโตไม่ต่างกับในไทย ภายใต้โจทย์ที่ท้าทาย LiB Consulting ได้มีโอกาสช่วยบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆไม่ต่ำกว่า 100 บริษัทต่อปี นับเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับการยกย่องให้เป็นที่หนึ่งในด้านการเพิ่มผลลัพธ์ด้าน Sales & Marketing ซึ่งคนทำธุรกิจจะทราบดีว่า top line หรือ “รายได้” เป็นต้นธารสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงกิจกรรมทั้งหมดของธุรกิจ และการมีกลยุทธ์รวมถึงกระบวนการด้าน Sales & Marketing ที่ดี ธุรกิจย่อมมีศักยภาพที่จะเติบโตสูงกว่า หรือแม้แต่กรณีที่ธุรกิจประสบปัญหารายได้ที่ชะลอตัวหรือลดลง การได้ที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญมาช่วยคิดและลงแรงในภาคปฏิบัติ ก็จะเพิ่มโอกาส turnaround ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ LiB Consulting เล่าให้เราฟังว่ากลไกสำคัญก็คือ การนำ Framework เฉพาะตัวที่ LiB ค้นคว้าวิจัยจนได้เป็นสูตรที่เหมาะกับธุรกิจแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็น B2B หรือ B2C ผนวกกับวิธีการทำงานที่ปลูกฝัง Agility mindset ให้กับที่ปรึกษาที่ LiB ที่มีความยืดหยุ่นในวิธีการและกระบวนการคิดเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า
กรณีศึกษาที่สำคัญซึ่ง LiB Consulting เคยเข้าไปช่วยลูกค้าให้พลิกฟื้นกลับมาได้อย่างสวยงาม คือ วางกระบวนการและกลยุทธ์การขายที่ทำให้บริษัทหนึ่งใน SET50 แห่งหนึ่งในไทยเพิ่มยอดขายได้สำเร็จในตลาดที่แข่งขันอย่างรุนแรง แม้กระทั่งทีมขายที่เคยมีผลงานแย่ที่สุดก็ยังสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 30% ภายในเวลาหนึ่งเดือนหลังจากที่ปรับใช้กระบวนการและกลยุทธ์ดังกล่าว โดยบทความในตอนต่อไป TIF จะนำกรณีศึกษานี้มาเล่าให้ฟังอย่างเจาะลึก
ส่วนใครที่อยากทำความรู้จัก LiB Consulting เพิ่มเติมทันที ก็สามารถดูได้ที่นี่
Categories: Investment Articles, Special Content