Inflations Report

อัตราเงินเฟ้อไทย เม.ย. 63 — ติดลบมากสุดในรอบ 10 ปี 9 เดือน

[  หนึ่งในข้อมูลชุด “Referencing Investment Data by TIF” ]

ทบทวนศัพท์กันก่อน:

  • เงินเฟ้อ >> ภาวะที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปมักปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้จำนวนเงินเท่าเดิมใช้ซื้อสินค้าได้น้อยลง (แต่ภาวะไม่ทั่วไป ราคาสินค้าก็อาจลดลงได้)
  • อัตราเงินเฟ้อ >> อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโดยทั่วไป (หรือแล้วแต่จะแยกคำนวณเป็นกลุ่มสินค้าบางรายการก็ได้) เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ซึ่งมักจะเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year % change) โดยตัวเลขตราเงินเฟ้อจะอ้างอิงจากข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI)

ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทย ถูกรวบรวบข้อมูล คำนวณ และเผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตัวเลขของเดือนก่อนจะประกาศทุกวันที่ 5-7 ของเดือนถัดไป (จากเดิมที่จะเผยแพร่ทุกวันทำการแรกของเดือน) อย่างตัวเลขล่าสุดที่มี ณ เวลานี้ ก็คือของเดือน เม.ย. 63  ซึ่งประกาศออกมาเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 63โดยอัตราเงินเฟ้อแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งในการคำนวณ จะไม่รวมการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงานและอาหารสด จึงทำให้ Core Inflation มีความผันผวนน้อยกว่าเงินเฟ้ออีกประเภท
  2. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation หรือบางทีเรียกสั้น ๆ ว่า Inflation) ซึ่งจะรวมการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าและบริการทุกประเภท จึงทำให้ Headline Inflation มีความผันผวนมากกว่า

นอกจากนั้นหลายคนมักจะสงสัยว่า ทำไมข้าวของแถวบ้านแพงขึ้น แต่เงินเฟ้อต่ำติดดินจัง ก็ต้องอธิบายว่า

ในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ จะใช้สินค้าและบริการ 422 รายการ มาคำนวณร่วมกันแบบถ่วงน้ำหนัก

คือไม่ใช่ทุกรายการจะมีน้ำหนักเท่ากัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ไว้ดังนี้

พอเข้าใจเรื่องที่มาและการคำนวณไปแล้ว ก็ได้เวลาเข้าเรื่องของเราจริง ๆ ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ จุดด้านหลังตัวเลข หากเป็นสีส้ม = ลดลงจากเดือนก่อน // สีฟ้า = เท่ากับเดือนก่อน // สีเขียว = เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

ก็เท่ากับว่า หากจะใช้ตัวเลขค่าเฉลี่ยระยะยาวที่สุดที่มีข้อมูลและครอบคลุมสินค้าและบริการทุกชนิดแล้วละก็ ขอสรุปให้ชัด ๆ ว่า

อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในระยะยาวของประเทศไทยคือ 1.67% ต่อปี หรือใครคิดว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 15 ปีมันนานไป ไม่สะท้อนภาวะปัจจุบันอีกต่อไป จะใช้ตัวเลขย้อนหลังที่สั้นกว่านั้นคือ 0.70% หรือ 1.23% ต่อปี ก็ตามชอบ

ทีนี้พอเรารู้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวแล้ว ก็สามารถเอาไปใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณได้หลากหลายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การประมาณการณ์ราคาสินค้าและบริการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต หรือการกำหนดอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำจากการลงทุนที่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้ ซึ่งตามตัวเลขนี้ก็คือ ต้องไม่น้อยกว่า 1.67% ต่อปี

แถม 1: กราฟแสดงองค์ประกอบของเงินเฟ้อ น้ำหนักในการคำนวณ และการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน จะเห็นว่าจะมีทั้งรายการที่เปลี่ยนแปลงมาก แต่น้ำหนักน้อย และรายการที่เปลี่ยนแปลงมากโดยมีน้ำหนักมาก

แถม 2: กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทย ซึ่งจะเห็นว่า มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันมาตลอด 20 ปี นั่นคือ กนง. จะดูอัตราเงินเฟ้อเป็น indicator สำคัญอันหนึ่ง ในการพิจารณาปรับเพิ่ม/ลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

แหล่งข้อมูล
• กระทรวงพาณิชย์ 1 และ 2
• บริการเอสเพน โดย ThaiQuest

สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการคำนวณตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ
• สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5822