หุ้นกู้ตลอดชีพ (Perpetual Bond) มีชื่อเต็มว่า “หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัทซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด และมีสิทธิเลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ”
ซึ่งจะเห็นคำว่า “มีลักษณะที่คล้ายทุน” (ซึ่งหมายถึง หุ้นสามัญ) รวมอยู่ด้วย จึงขอทำรายละเอียดเปรียบเทียบมาให้เห็นชัด ๆ ว่าที่คล้ายทุนนั้น คล้ายอย่างไร และมีส่วนไหนที่ต่างกันบ้าง
- สถานะของผู้ลงทุน
- หุ้นกู้ตลอดชีพ (Perpetual Bond — PB): เจ้าหนี้
- หุ้นสามัญ (Common Stock — CS): เจ้าของ
- การซื้อขายครั้งแรก (primary market)
- PB: จองซื้อกับสถาบันการเงินผู้จัดจำหน่าย
- CS: (เหมือนกับ PB)
- การซื้อขายในภายหลัง (secondary market)
- PB: สามารถซื้อเพิ่ม/ขายบางส่วน/ขายทั้งหมด ก่อนครบกำหนดก็ได้ โดยการเจรจาเป็นรายกรณี (over the counter) ผ่านสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจซื้อขายตราสารหนี้
- CS: ผ่าน SET หรือ mai ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบ auto matching (แต่ก็ยังมีแบบ big lot ด้วย)
- แหล่งดูราคาตลาดรายวัน
- PB: thaibma.or.th << คลิกได้นะ
- CS: www.set.or.th หรือ settrade Streaming
- สภาพคล่องซื้อขายใน secondary market
- PB: ต่ำถึงต่ำมาก อาจต้องรอนาน (หลายวัน ถึง สัปดาห์) ในการเจอผู้ลงทุนอีกฝั่ง
- CS: ปานกลางถึงสูง ผ่านตลาดหลักทรัพย์
- ผลตอบแทนที่อาจจะได้รับ
- PB: ส่วนต่างราคาหุ้นกู้ + ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
- CS: ส่วนต่างราคาหุ้น + เงินปันผล/หุ้นปันผล + warrant
- ความแน่นอนของผลตอบแทนที่ได้รับ
- PB: ในภาวะปกติ ก็จะได้รับดอกเบี้ยสม่ำเสมอ ตามอัตราที่ระบุไว้
- CS: ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ ถ้าขาดทุนอาจไม่จ่ายเลย แต่ถ้าบริษัทมีกำไรเติบโต จำนวนเงินปันผล ก็มักจะโตตาม
- ความผันผวนของราคา
- PB: ต่ำกว่า แต่มีโอกาสน้อย ที่จะได้กำไรมาก ๆ จากราคา
- CS: สูงกว่ามาก แต่ระยะยาวมีก็โอกาสมาก ที่จะได้กำไรสูง
- อันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating)
- PB: มีการจัดอันดับ และจะมีอันดับต่ำกว่าหุ้นกู้ที่ไม่ด้อยสิทธิ
- CS: ไม่มีการจัดอันดับ เพราะไม่มีภาระผูกพันที่สัญญาไว้ชัดเจนล่วงหน้า
- สิทธิของบริษัทในการไถ่ถอนหรือซื้อคืน
- PB: บริษัทบังคับซื้อคืนได้ทั้งจำนวน เมื่อครบปีที่ 5 เป็นต้นไป (ผู้ลงทุนต้องขายคืน เลือกไม่ได้)
- CS: บริษัทเสนอซื้อหุ้นคืนได้ผ่านดีล treasury stock แต่ผู้ลงทุนจะไม่ตั้งขายก็ได้ โดยบริษัทมักซื้อจากตลาดหุ้น (open market) รวมกับนักลงทุนทั่วไป
- สิทธิของผู้ลงทุนในการขายคืนบริษัท
- PB: ไม่มีสิทธิขายคืนบริษัท แต่เสนอขายกันได้เองในหมู่นักลงทุน (ตามข้อ 3)
- CS: ไม่มีสิทธิขายคืนบริษัทโดยตรง แต่เสนอขายกันได้เองในหมู่นักลงทุน (ตามข้อ 3) ส่วนกรณี treasury stock ที่บริษัทซื้อจากในตลาด นักลงทุนผู้ขายจะไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นฝั่งซื้อ จึงไม่ถือว่านักลงทุนมีสิทธิขายคืนบริษัทได้โดยตรง (หากอยากขาย ก็ขายในตลาดได้ตามปกติ)
- สิทธิของบริษัทในการไม่จ่ายผลตอบแทน
- PB: มีสิทธิเลื่อนชำระดอกเบี้ยได้โดยไม่มีข้อจำกัด (จะเลื่อนไป 100 ปีก็ได้) แต่ดอกเบี้ยจะถูกสะสมไว้จ่ายย้อนหลัง โดยช่วงที่เลื่อนชำระดอกเบี้ย จะห้ามจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น
- CS: มีสิทธิไม่จ่ายปันผล (จะไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้) และไม่มีการสะสมไปจ่ายย้อนหลัง
- ลำดับสิทธิในการรับเงินเมื่อชำระบัญชีเลิกกิจการ
- PB: ภายหลังเจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้เงินกู้ และตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ แต่มีสิทธิก่อนหุ้นสามัญ
- CS: อยู่ลำดับท้ายสุด
- รูปแบบความเสียหายหากบริษัทฟื้นฟูกิจการ
- PB: อาจถูกลดยอดหนี้ (haircut) และ/หรือ ถูกลดอัตราดอกเบี้ยลงจากหน้าตั๋ว
- CS: อาจถูกลดทุนด้วยการตัดหุ้น/ลดพาร์ หรืออาจถูก dilute จากการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (private placement) ให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่
- อำนาจควบคุมกิจการ
- PB: ภาวะปกติ >> ไม่มีอำนาจ // ภาวะฟื้นฟูกิจการ >> ตามสัดส่วนการลงทุน แต่สิทธิอาจด้อยกว่าเจ้าหนี้มีประกัน หรือเจ้าหนี้ไม่ด้อยสิทธิ
- CS: ภาวะปกติ >> ตามสัดส่วนการลงทุน // ภาวะฟื้นฟูกิจการ >> เจรจาร่วมกับเจ้าหนี้
ที่มา: หนังสือชี้ชวนของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ตลอดชีพบางราย + FB page สำนักงาน กลต. + การเคยลงทุนโดยตรงในฐานะนักลงทุนสถาบัน
Categories: Investment Articles, Knowledge Resources