ในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2562 สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้ถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย 4 หลักใหญ่ 32 ข้อย่อย ใจความดังนี้ ทศพิธราชธรรม (10) * (จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์) ทาน การให้ พระมหากษัตริย์พึงชุบเลี้ยงพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ข้าราชการ บรรพชิต ตลอดจนอาณาประชาราษฎร ด้วยวัตถุปัจจัยบรรดาอามิสทั้งหลายตามฐานานุรูปของบุคคลนั้นๆ รวมถึงพระราชทานธรรมทานแจกจ่ายพระบรมราโชวาท แนวพระราชดำริ อันถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ให้พสกนิกรทั้งหลายเจริญรอยตาม ศีล พระมหากษัตริย์พึงเว้นจากความประพฤติทุจริต กล่าวในการทางปกครอง ย่อมหมายถึงรัฐธรรมนูญ บทกฎหมาย และจารีตประเพณีอันดีงาม กล่าวในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงศีล อย่างน้อยคือศีล 5 ของฆราวาสทั่วไป และพระราชาจะทรงรักษาและโน้มน้าวให้พสกนิกรรักษาด้วย บริจาค […]
ในเชิงการเงินการลงทุน “Rainmaker” หมายถึงบุคคลที่สามารถนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่องค์กร โดยใช้แง่มุมหรือแนวคิดที่ไม่มีใครนึกถึง จึงเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูง เราทราบกันมาช้านาน ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริก่อตั้งโครงการฝนหลวง มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2498 แต่ไม่ได้ทรงตั้งโครงการเท่านั้น ยังทรงประดิษฐ์ “ตำราฝนหลวงพระราชทาน” เพื่อเผยแพร่ความรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปด้วย จึงขอนำเผยแพร่ต่อ ณ โอกาสนี้ โดยขอยกคำอธิบายโดยละเอียดมาจาก http://huahin.royalrain.go.th/tumra.php แถวบนสุด ช่องที่ 1. “นางมณีเมฆขลา” เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของสำนักงาน มณีเมฆขลาเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงาน ฝล. เป็นหัวหน้าสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แห่งเขาไกรลาส หรือเขาพระสุเมรุ วิเทศะสันนิษฐานว่าอยู่ในทะเล ช่องที่ 2. “พระอินทร์ทรงเกวียน” พระอินทร์เป็นพระสักกะเทวราช เป็นราชาของเทวดา ที่ลงมาช่วยทำฝน ช่องที่ 3. “21 มกราคม 2542” เป็นวันที่ทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง เส้นทางพระราชดำเนินกลับ ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่หน้าจะทำฝนได้ ทรงบันทึก ภาพเมฆเหล่านั้นพระราชทานลงมา และมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษออกไปปฏิบัติ การกู้ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และภาคเหนือตอนล่าง […]
ถ้ากล่าวถึง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แต่ไม่กล่าวถึง “เกษตรทฤษฎีใหม่” (New Theory) ก็เหมือนผมทำงานยังไม่เสร็จ เหตุเพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสไว้ตั้งแต่ปี 2542 ว่า “…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…” – ข้อมูลจากสำนักพระราชวัง – และเมื่อได้ศึกษารายละเอียดจริงจัง ก็ขนลุก เพราะเป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้ว ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษา ออกแบบ และพระราชทานโมเดลที่พร้อมใช้งาน สำหรับเกษตรกรหรือใครก็ตามที่มีที่ทำกินไม่มาก คือประมาณ 10-15 ไร่ (อาจจะดูเยอะสำหรับคนเมือง แต่ไม่เยอะเลยสำหรับบริบทของการเกษตร) .. ซึ่งโมเดลนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้น
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ต่อไปนี้จะขอใช้ว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9) จึงคิดว่าเป็นโอกาสสมควรที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายให้เข้าใจกันละเอียดยิ่งขึ้น ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวทางผ่านพระราชดำรัสในหลายโอกาสด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 (เท่าที่หาข้อมูลพบ)
ธนบัตร (Bank Note) หรือที่เราเรียกว่าสั้น ๆ ว่าแบงก์นั้น ในประเทศไทยมีการพัฒนามาเป็นลำดับ ซึ่งปัจจุบันนี้ ธนบัตรที่เราใช้ คือเป็นรุ่นที่ 16 แล้ว นับตั้งแต่มีการพิมพ์ธนบัตรในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2445 ในสมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพจาก http://www.bot.or.th) แต่น้อยคนที่จะสังเกตว่า ธนบัตรรุ่นที่ 15 ที่เริ่มออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2544 และยังมีหมุนเวียนใช้ซื้อขายสินค้ากันอยู่พอสมควรในปัจจุบัน ได้ซ่อนสิ่งสูงค่าไว้ด้านหลัง ซึ่งก็คือ “พระราชดำรัส” และ “พระบรมราชโองการ” ของพระเจ้าอยู่รัชกาลต่าง ๆ ในยุครัตนโกสินทร์ … มาลองดูรายละเอียดกัน ว่าธนบัตรแบบไหน มีข้อความว่าอย่างไร