เมื่อจะวางแผนการเงินเพื่อเกษียณ หรือสร้าง Financial model ในการประเมินธุรกิจ ก็มักจะถูกทักว่า “เฮ้ย ลืมเงินเฟ้อไปหรือเปล่า?!” ซึ่งบางทีเราก็ลืม หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าจะใช้ตัวเลขไหนดี ก็เลยขอนำตัวเลขเงินเฟ้อมาให้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนซะเลย แต่ก่อนจะไปดูตัวเลข ขออธิบายก่อนว่า ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทย ถูกรวบรวบข้อมูล คำนวณ และเผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตัวเลขของเดือนก่อนจะประกาศทุกวันทำการแรกของเดือนปัจจุบัน (นับว่าเป็นการประมวลผลที่เร็วมากกก) อย่างตัวเลขล่าสุดที่มี ณ เวลานี้ ( ณ 1 ก.พ. 62) ก็คือของเดือน ม.ค. 62 โดยอัตราเงินเฟ้อแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งในการคำนวณ จะไม่รวมการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงานและอาหารสด จึงทำให้ Core Inflation มีความผันผวนน้อยกว่าเงินเฟ้ออีกประเภท อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation หรือบางทีเรียกสั้น ๆ ว่า […]
แย่ได้อีก … ระยะสั้นเป็นขาลง ระยะกลางก็เช่นกัน // เงินบาทอ่อนค่าไปที่ 35.9x THB/USD ต้น ๆ // ดัชนีหุ้นไทยเยิน นำลงไปโดยหุ้นพลังงาน (ตกลงหุ้นพลังงานเป็นอนุพันธ์ของราคาน้ำมันดิบสินะ) // ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ลบ // ทองคำบวกเล็กน้อย ส่วนน้ำมันดิบยังลงต่อเนื่องไปที่ $37/bblกราฟจาก บริการเอสเพน (คลิกที่รูป เพื่อชมขนาดใหญ่ขึ้น) สถานะของตลาดและของปัจจัย แนวโน้มตลาดระยะกลาง-ยาว (กราฟซ้ายบน): เป็นขาลงแรง แนวโน้มตลาดระยะสั้น (กราฟซ้ายกลาง): เป็นขาลงแรงเช่นกัน การซื้อขายสุทธิของนักลงทุน: ฝรั่งยังขายในตลาดหุ้น (ขายมาตั้งแต่กลางปี) และในตลาดฟิวเจอร์ส … ส่วนสถาบันยังไม่ออกอาวุธจะแจ้ง แม้จะเป็นช่วงปลายปีแล้ว เงินบาท: อ่อนค่าไปที่ 35.9x THB/USD ต้น ๆโดยแนวโน้มระยะกลางยังเป็นฝั่งแข็งค่า ตลาดหุ้นต่างประเทศ: ลบทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ราคาสินค้าโภคภัณฑ์: ทองคำบวกเล็กน้อย ส่วนน้ำมันยังลบตามข่าว OPEC […]
ความเดิมตอนที่แล้วในบทความ สำคัญจริงนะ … อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตอนที่ 1: ขยับดอกเบี้ยฯไปเพื่ออะไร ? ได้เล่าถึงความสำคัญของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กลไกที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และไปจบที่การชี้ให้เห็นความสำคัญของ “ธนาคารพาณิชย์” ในฐานะที่เป็นผู้เล่นหลักในฝั่งเอกชนซึ่งรับไม้ต่อมาจากภาครัฐที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย (คลิก/แตะ ที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่เต็มจอ) เมื่อดูจากโครงสร้างเงินฝากของประเทศไทยซึ่งมีทั้งหมด 11.85 ล้านล้านบาท ก็พบว่าเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากระยะสั้น ไม่เกิน 3 เดือน ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้หลักของแบงก์พาณิชย์คือ Minimum Loan Rate หรือ MLR (ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ มีนาคม 2558)
วันนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์คณะหลักของประเทศในการกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประกาศหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย — ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแกนหลักของประเทศ ที่ใช้กำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ ทั้งหมด ทั้งพันธบัตร เงินกู้ และเงินฝาก — ให้ลดลง 0.25% จาก 2.00% ต่อปี เหลือ 1.75% ต่อปี ด้วยเหตุว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแย่กว่าที่คาด แถมการใช้จ่ายภาครัฐยังต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเห็นผล (ที่มา: http://www.bot.or.th) และผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว เท่าที่เห็นผลได้ทันทีและเท่าที่พอจะนึกออกในตอนนี้ก็คือ
(ที่มา: http://www.bot.or.th) เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่ผ่านมา แบงก์ชาติแถลงรายงานนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับส่งท้ายปี 2557 โดยมีมุมมองต่อเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้า 2558 สรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ 1. เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาด 2. เงินเฟ้อลดต่ำลงตามราคาพลังงาน 3. เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จึงมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 6 ต่อ 1 ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00% ต่อปี โดย 1 เสียงที่เห็นต่าง มองว่าควรลดดอกเบี้ยได้แล้ว ถ้าแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ และการส่งออกยังซบเซา การประชุมงวดหน้าวันที่ 17 ธ.ค. 57 มีลุ้นปรับลดดอกเบี้ยนะเนี่ย … ที่มา: www.bot.or.th ส่วนใครที่สงสัยว่า เจ้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมันคืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมนักลงทุนต้องติดตาม ชวนอ่านต่อที่นี่ครับ “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และความสำคัญต่อเศรษฐกิจ & การลงทุน“