(ถ้าเครื่องใครโหลด Sub Thai ไม่ขึ้น กดเข้าไปดูได้ที่ TED ครับ) “ตอนผมเรียน ป.2 ผมชนะการแข่งขันการพูดระดับอำเภอแต่ไม่มีใครพูดสักคนว่า “เฮ้ย เจ้าเด็กนี่ เป็นนักพูดที่ดีนะเนี่ย เขาไม่มีสมาธิ แต่เขารักที่จะเดินไปทั่ว และพูดจูงใจผู้คน” ไม่มีใครสักคนจะพูดว่า “จ้างโค้ชมาฝึกเขาเรื่องการพูดสิ” พวกเขากลับบอกว่า ให้มีครูสอนพิเศษผม ในเรื่องที่ผมยังไม่ดีพอ เมื่อเด็กๆ แสดงทักษะแบบนี้ เราจำเป็นต้องเริ่มมองหาเด็กเหล่านี้ ผมคิดว่า เราควรจะเลี้ยงดูเด็กๆ ให้เติบโตเป็นเจ้าของกิจการแทนที่จะเป็นทนายความ โชคร้าย ที่ระบบโรงเรียนทำให้คนทั้งโลกพากันพูดว่า “นี่ มาเป็นทนายความ หรือเป็นหมอกันเถอะ” และเราก็จะพลาดโอกาสเหล่านั้น เพราะไม่มีใครสักคนที่จะพูดว่า “นี่ มาเป็นเจ้าของกิจการกันเถอะ” …
(ใครโหลด Thai Subtitle ไม่ขึ้น ตามไปดูได้ที่ TED ครับ) ” … ในสามปีที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไป 45 ประเทศ ได้ทำงานร่วมกับโรงเรียน และบริษัท ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และสิ่งที่ผมพบก็คือ บริษัทและโรงเรียนส่วนมากนั้น ทำตามสูตรความสำเร็จ ซึ่งก็คือ ถ้าฉันทำงานหนักขึ้น ฉันก็จะประสบความสำเร็จมากขึ้น และถ้าฉันประสบความสำเร็จมากขึ้น ฉันก็จะมีความสุขขึ้น นี่คือรากฐานหลักของการอบรมเลี้ยงดูส่วนใหญ่ และวิธีการบริหารจัดการของพวกเรา และเป็นวิธีที่กระตุ้นพฤติกรรมของเรา ซึ่งปัญหาก็คือ มันผิดหลักวิทยาศาสตร์แล้วก็ล้าหลัง ด้วยเหตุผลสองอย่าง หนึ่ง ทุกครั้งที่สมองเรารู้สึกประสบความสำเร็จ คุณก็เปลี่ยนบรรทัดฐานของคำว่าสำเร็จไปแล้ว คุณเคยได้คะแนนดี ตอนนี้คุณเลยต้องให้ได้คะแนนที่ดีกว่าเดิม คุณเคยอยู่โรงเรียนที่ดี หลังจากนั้นคุณก็ไปเข้าโรงเรียนที่ดีขึ้นไปอีก คุณเคยได้งานที่ดี ตอนนี้เลยต้องได้งานที่ดีกว่าเดิม คุณเคยทำยอดขายเข้าเป้า ตอนนี้เราเลยต้องตั้งเป้ายอดขายใหม่ให้คุณ และถ้าความสุขอยู่ตรงข้ามกับความสำเร็จ สมองคุณก็จะไม่เคยได้ไปถึงจุดนั้น สิ่งที่เราได้ทำลงไป คือเมื่อเป็นสังคมเราร่วมกันผลักความสุข ออกไปจนข้ามขีดจำกัดของการรับรู้ และนี่ก็เพราะว่าพวกเราคิดว่าเราต้องประสบความสำเร็จ แล้วเราจึงจะมีความสุข
คนทำงานประจำมีเงินเดือนได้ มีตำแหน่งได้ มีประสบการณ์ได้ มีโอกาสย้ายงานที่ดีกว่าได้ สร้างฐานะได้ ก็เพราะมีบริษัทจ้างงาน เพราะมีนายทุน เพราะมีเจ้าของ … การใหญ่บางอย่าง เราเริ่มทำเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนอื่นให้โอกาสเราก่อน แล้วค่อยเรียนรู้เติบโตในเส้นทางของเราเอง บริษัท นายทุน เจ้าของ มีผลผลิต มีรายได้ มีกำไร ร่ำรวยได้ ก็เพราะมีคนช่วยทำงานให้ … การใหญ่บางอย่าง เราทำคนเดียวไม่ไหว ต้องอาศัยคนอื่นมาช่วยทำ ถ้าทั้ง 2 ฝั่งเห็นความสำคัญซึ่งกันและกันแบบนี้ ก็จะอยู่ด้วยกันได้อย่างเกื้อกูล อย่างยุติธรรม … คือคนทำงานก็ทำงานเต็มที่ ทำแบบที่อยากเห็นตัวเองก้าวหน้า … คือบริษัทก็ให้ผลตอบแทนตามผลงานความสามารถ แบบที่สนับสนุนให้คนเก่งคนดีได้ดี และอยู่กับบริษัทนาน ๆ
(ถ้าเครื่องใครโหลด Sub Thai ไม่ขึ้น กดเข้าไปดูได้ที่ TED ครับ) เจสัน ฟรายด์ ใช้เวลากว่า 10 ปีสอบถามคนทำงานประจำว่า ทำงานที่ไหนยังไงถึงได้เนื้องานออกมามากที่สุด ซึ่งกลุ่มหนึ่งบอกว่า ระเบียง ดาดฟ้า ห้องครัว คนอีกกลุ่มหนึ่งบอกว่า ในรถไฟ บนเครื่องบิน ส่วนคนกลุ่มสุดท้ายบอกว่า ที่ไหนก็ได้ สำคัญที่ช่วงเวลา บางคนชอบทำตอนเช้าตรู่ บางคนชอบทำตอนดึก (ผมเอง – TIF- ก็ชอบทำงานตอนดึก ๆ ดื่น ๆ สมาธิดีนักแล) .. แต่แทบไม่ได้ยินใครตอบว่า อยากทำงาน “ที่ทำงาน” เฟสบุค ยูทูป หรือ ทวิตเตอร์ … สิ่งเหล่านี้ไม่ใช้ปัจจัยที่ทำลายสมาธิในการทำงาน เจสันให้เหตุผลว่า เรื่องพวกนี้ไม่ต่างอะไรกับการพักสูบบุหรี่ (บริษัทไม่เห็นจะมีปัญหากับการที่พนักงานแวบไปสูบบุหรี่ แต่หลายแห่งกลับ Block […]
“ต่อจากนี้หลวงพ่อจะทำงานหนักล่ะ” พระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร พระนักปฏิบัติชั้นผู้ใหญ่ วัยย่าง 95 ปี ดำริกับลูกศิษย์ ถึงการทำงานเผยแผ่ศาสนา ซึ่งหลัก ๆ ต่อจากนี้คือการเริ่มบุกเบิกสถาบันสอนสมาธิในจีน (หลังจากเปิดมาไม่รู้กี่แห่งในไทยและแคนาดา) และการเริ่มเรียนภาษาจีน (หลังจากเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตอนอายุ 87 ปี ซึ่งตอนนี้สามารถใช้ภาษาอังกฤษระดับเทศน์สอนฝรั่ง Canadian ได้) ผมนี่ถึงกับต้องลบคำว่า early retire/ passive income/ ทำงานเก็บเงิน/ ยิ่งให้ก็ยิ่งได้ ออกจากพจนานุกรมไปเลย … เพราะนี่คือตัวอย่างที่สุดชัดเจนของ “การทำดีเพื่อดี” คือทำโดยหวังที่ “ผลดี” อันจะเกิดขึ้นกับคนทั่วไปในวงกว้าง ไม่ได้จำกัดว่าต้องทำให้เฉพาะพวกเรา (คนไทย) เท่านั้น แต่ทำเพื่อเพื่อนร่วมโลกโดยรวม โดยไม่ได้หวังว่าทำแล้วจะได้ชื่อเสียง เงินทอง ความภูมิใจ ใด ๆ … และเป็นการทำอย่างไม่ท้อถอย ทำไปเรื่อย ๆ เมื่อยังมีแรงทำ […]