Investment Articles

กองทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐาน ที่ได้มากกว่าพื้นฐาน

DSC06014

ศาสตราจารย์ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ (Michael E. Porter) นักกลยุทธ์ระดับโลกจาก Harvard University ได้คิดค้นแบบจำลอง Five-Force Model อันโด่งดัง ซึ่งใช้วิเคราะห์ระดับการแข่งขันในอุตสาหกรรมและแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ

Five-Force Model เสนอว่า 5  ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับการแข่งขันในอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ นั้นประกอบด้วย

  1. ระดับความยากที่จะมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่ง
  2. ระดับความเสี่ยงที่จะมีสินค้าหรือบริการอย่างอื่นเข้ามาทดแทน
  3. ระดับวามสามารถในการต่อรองของซัพพลายเออร์ (คนที่เราต้องไปซื้อสินค้า/วัตถุดิบ เอามาทำต่อ)
  4. ระดับความรุนแรงในการแข่งขันในปัจจุบัน และ
  5. ระดับความสามารถในการต่อรองของลูกค้า

ซึ่งมีธุรกิจอยู่ประเภทหนึ่งที่มีความแข็งแกร่งสูงมากเมื่อวิเคราะห์กันตาม Five-Force Model ดังกล่าว นั่นก็คือ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure Business

Infrastructure Business เป็นธุรกิจที่มีความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร ตัวอย่าง Infrastructure ก็เช่น ท่อส่งน้ำมันและก๊าชธรรมชาติ ท่าอากาศยาน ทางด่วน ทางรถไฟ ท่าเรือ ระบบไฟฟ้าประปา ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ ฯลฯ

และหากจะไล่วิเคราะห์ Infrastructure Business ไปตาม Five-Force Model  แต่ละข้อก็จะพบว่า

  1. Infrastructure Business เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงมาก และมีความซับซ้อนยุ่งยากในการเริ่มต้น ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและการเจรจากับหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่างชัด ๆ ก็เช่น มูลค่าการประมูลคลื่นมือถือที่ว่ากันที่หลักเกือบแสนล้านบาท จึงยากมากที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้ามาทำธุรกิจได้ และถึงมีก็มีจำนวนไม่มาก
  2. มีความเสี่ยงต่ำมาก ที่ Infrastructure Business จะมีบริการอื่นเข้ามาทดแทนได้ในเวลาอันสั้น แถมผู้ประกอบการเจ้าเดิมเอง ก็มีความสามารถในการปรับปรุงระดับบริการของตัวเองอยู่ตลอดเวลา เช่น การสร้างสนามบินส่วนต่อขยาย การอัพเกรดจาก 3G เป็น 4G
  3. Infrastructure Project มักมีขนาดใหญ่มาก มูลค่าโครงการมหาศาล จึงมี Supplier จำนวนมากยินดีเสนอราคาในระดับต่ำ เพื่อให้ได้งานไปทำ อำนาจการต่อรองจึงอยู่ในมือเจ้าของโครงการ
  4. เมื่อ Infrastructure ใช้เงินลงทุนสูง ซับซ้อน และหลายโครงการต้องได้รับสัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนสัมปทานจำกัดมาก หลายธุรกิจมีได้เพียงเจ้าเดียวในประเทศ เช่น ทางด่วน ระบบรถไฟฟ้า ก็ทำให้มีจำนวนคู่แข่งในแต่ละธุรกิจเพียงน้อยราย หรือบางธุรกิจก็ไม่มีคู่แข่งเลย
  5. และเมื่อ Infrastructure Business มีการแข่งขันต่ำ ก็ทำให้อำนาจการต่อรองหรือการกำหนดราคาอยู่ในมือผู้ประกอบการแทบจะทั้งหมด เช่น ค่าธรรมเนียมสนามบิน ค่าเช่าท่อขนส่งน้ำมัน

จึงกล่าวได้ว่า Infrastructure Business เป็นธุรกิจที่เกือบจะสมบูรณ์แบบ จะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ก็เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของเทคโนโลยีหรือนโยบายของภาครัฐ

และล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย หรือ KASSET กำลังอยู่ในช่วงนำเสนอกองทุนเปิด เค โกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ หุ้นทุน (K Global Infrastructure Equity Fund หรือ K-GINFRA)

K-GINFRA เน้นลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่ทำธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีการลงทุนกระจายไปทั่วโลก และหากมองจุดแข็งของ Infrastructure Business นอกเหนือไปจากทั้ง 5 ประเด็นตาม Five-Force Model แล้ว สินทรัพย์ของธุรกิจนี้ ยังมีอายุการใช้งานยาวนานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีประชากรที่ใช้บริการเป็นจำนวนมหาศาล และที่สำคัญคือมีอุปสงค์ในการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ขาดแทบจะไม่ได้ (ต้องขึ้นทางด่วนทุกวัน ต้องโหนรถไฟฟ้าทุกวัน ต้องอาบน้ำทุกวัน) ทำให้ธุรกิจนี้มีรายได้สม่ำเสมอ กระแสเงินสดรับมีความต่อเนื่อง และสามารถปรับเพิ่มอัตราค่าบริการได้ในระยะกลางถึงยาว ทำให้ผลการดำเนินงานมีความผันผวนต่ำ และกำไรมีแนวโน้มเติบโตได้ในระยะยาว … ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้หุ้นของธุรกิจ Infrastructure มีความน่าสนใจมาก

หากจะดูกันที่ตัวเลขชัด ๆ ก็จะเห็นว่า มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวถึงสองเท่ากว่า ในเวลาไม่ถึงสิบปี

K-GINFRA02.jpg ที่มา: OECD, Fostering Investment in Infrastructure, Jan 2015

นอกจากนั้น อัตราการจ่ายเงินปันผล (ยังไม่นับกำไรจากส่วนต่างราคา) ก็มีความสม่ำเสมอ และอยู่ในอัตราที่สูงกว่าโดยหุ้นทั่วไป และอสังหาริมทรัพย์

K-GINFRA03.jpgที่มา: ดัชนีโครงสร้างพื้นฐาน: S&P Global Infrastructure Index // ดัชนีหุ้นโลก – MSCI World // ดัชนีอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก – FTSE EPRA/NAREIT Developed Real Estate (Net)

K-GINFRA จะนำเงินไปลงทุนใน Morgan Stanley Global Infrastructure Fund ซึ่งบริหารโดย Morgan Stanley Investment Management บริษัทจัดการลงทุนชั้นนำของโลก ที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี มีสินทรัพย์ภายใต้การดูแลมากกว่าสิบล้านล้านบาท (หนึ่งตามด้วยศูนย์สิบสามตัว) โดยกองทุน Morgan Stanley Global Infrastructure นี้มีขนาดกองทุนประมาณหนึ่งหมื่นแปดพันล้านบาท และได้รับการจัดอันดับเป็นกองทุน 5 Stars โดย Morningstar

Morgan Stanley Global Infrastructure Fund มีวิธีการคัดเลือกหุ้นเข้ากอง ทั้งในแบบ Top-Down คือเริ่มวิเคราะห์จากระดับมหภาค และ Bottom-up คือวิเคราะห์มาจากตัวกิจการ และจะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสม (Undervalued) อีกทั้งมีการกระจายลงทุนไปทั่วโลก โดยจากข้อมูลล่าสุด มีการลงทุนในทวีปอเมริกา 63% ยุโรป 23% เอเซียแปซิฟิค 12% และถือเงินสดเป็นสภาพคล่อง 2%

หุ้นที่ Morgan Stanley Global Infrastructure Fund ถือครอง 10 อันดับแรก ณ ปลายปี 2558 เป็นดังนี้

screenshot.137 screenshot.138

กลับมาที่ K-GINFRA กองนี้ก็จะมีนโยบายการจ่ายปันผลออกมาเป็นระยะ ๆ (ไม่เกินปีละ 4 รอบ) และมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (F/X Hedge) ไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่ากองทุน

จึงนับได้ว่า K-GINFRA มีความครบเครื่อง (1) ทั้งด้านสินทรัพย์ที่ไปลงทุน ซึ่งก็คือหุ้นสามัญของ Infrastructure Business ทั่วโลก ที่มีความมั่นคงและความได้เปรียบในเชิงธุรกิจสูง (2) ทั้งในด้านผู้บริหารกองทุนหลัก ซึ่งก็คือ Morgan Stanley Investment Management ที่มีประสบการณ์ยาวนาน และมีนโยบายการคัดเลือกหุ้นที่มีประสิทธิภาพ และ (3) ในด้านการมีนโยบายจ่ายปันผลให้ผู้ลงทุนมีกระแสเงินรับอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงในประเด็นที่ไม่เกี่ยวกับการลงทุนอย่างแท้จริง

ใครที่อ่านข้อมูลข้างต้นแล้วสนใจ พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นโอกาสในการลงทุนที่มีศักยภาพสูง ก็สามารถติดต่อขอรายละเอียดแบบเต็ม ๆ รวมถึงรายละเอียดในการจองซื้อได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา ซึ่งเขากำลังเปิดจองซื้อ ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2559 โดยกองทุนนี้ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 5,000 บาท ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกได้แล้ว

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *