Investment Articles

ลดดอกเบี้ยนโยบาย แล้วอะไรจะเกิด ?!?

screenshot.305

วันนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์คณะหลักของประเทศในการกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประกาศหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย — ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแกนหลักของประเทศ ที่ใช้กำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ ทั้งหมด ทั้งพันธบัตร เงินกู้ และเงินฝาก — ให้ลดลง 0.25% จาก 2.00% ต่อปี เหลือ 1.75% ต่อปี ด้วยเหตุว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแย่กว่าที่คาด แถมการใช้จ่ายภาครัฐยังต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเห็นผล

screenshot.300(ที่มา: www.bot.or.th)

และผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว เท่าที่เห็นผลได้ทันทีและเท่าที่พอจะนึกออกในตอนนี้ก็คือ

1. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลดิ่งลงทันใด ตามการประกาศหั่นดอกเบี้ยนโนยาย -0.25% screenshot.299 เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั้งระยะสั้นและยาว ดิ่งลงทันทีในวันนี้
(กราฟจาก http://www.ibond.thaibma.or.th)

2. ผลตอบแทนของกองทุนรวม Money Market ที่ลงทุนในตราสารภาครัฐระยะสั้นเป็นหลัก เดี๋ยวก็จะต้องร่วงตาม screenshot.301เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เทียบวันนี้ 11 มี.ค. 58 และวันก่อน
ซึ่งจะเห็นวันนี้ช่วงระยะสั้น ลดลงตามการหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
แต่ก็ไม่ถึงกับลด 0.25% พอดีเป๊ะ เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็มีการกะเก็งกันมาแล้วบ้าง

3. ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของแบงก์พาณิชย์ ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของเขา ก็น่าจะลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายและสภาพคล่องที่ล้นระบบ … เนื่องด้วยแบงก์ไม่กล้าปล่อยกู้ใหม่เพิ่มมาก เพราะกลัวเศรษฐกิจที่ยังอึมครึม ซึ่งเท่ากับว่า ก็ไม่อยากแข่งดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อระดมทุนไปปล่อยกู้เพิ่ม สักเท่าไร และเท่าที่เช็คดู ก็เห็น SCB  KBANK KTB นำร่องลดดอกเบี้ยเงินฝากลงมาแล้ว เดี๋ยวแบงก์อื่น ๆ ก็น่าจะตามกันไป

4. ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งเป็นรายได้หลักของแบงก์นั้น ต้องตามดูใจท่านนายแบงก์ว่าจะยอมลดกันทั่วหน้าหรือไม่ — นอกจาก SCB ที่ลดนำไปแล้ว — เพราะครั้งสุดท้ายที่แบงก์ใหญ่ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กันนั้น ก็แถว ๆ ปลายปี 2556 ถึง กลางปี 2557 นู่น

screenshot.302SCB นำร่องลดดอกเบี้ยทั้งฝั่งกู้และฝากลง 0.20% (ที่มา: www.scb.co.th)

5. ทางด้านการลงทุนในหุ้น ระยะสั้นก็อย่างที่เห็น คือดัชนีเด้งขึ้นมาทันที 12.80 จุดscreenshot.303แต่ในระยะต่อไปนั้น ต้องไม่ลืมว่า ที่ต้องลดดอกเบี้ยนโยบาย ก็เพราะว่าเศรษฐกิจดูไม่ดี (ไม่ดีถึงขนาดที่ต้องลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจซะแล้ว) ดังนั้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในระยะต่อไป ก็ต้องตามลุ้นว่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้ากระทบ กำไรก็จะร่วงลง และราคาหุ้นก็จะถูกกดดันให้ไปไหนไม่ได้ไกลเช่นกัน

6. นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องฝั่งสหรัฐฯ เกี่ยวกับการกะเก็งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเขา (Fed Fund Rate) ซึ่งถ้าปรับเพิ่มขึ้นจริง ก็จะทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไประหว่างไทยกับสหรัฐฯ ห่างกันมากขึ้น (บ้านเราลดดอกเบี้ย บ้านเขาจะขึ้นดอกเบี้ย) จนอาจเป็นเหตุให้เงินทุนไหลออกไปหาผลตอบแทนการลงทุนที่สูงขึ้นและเสี่ยงน้อยกว่า อย่างเช่น หุ้นสหรัฐฯ และ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อันจะเป็นเหตุให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ … และในเรื่องนี้ ก็พอจะเห็นสัญญาณลางๆ แล้วจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทันที 0.20 THB/USD ภายในวันนี้วันเดียว จาก 32.65 ไปอยู่ที่ 32.86 THB/USD … โดยการที่เงินบาทอ่อนค่า ก็จะช่วยผู้ส่งออกให้ขายของได้เป็นเงินบาทมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็จะทำให้ผู้นำเข้ามีต้นทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

screenshot.304

สรุปว่า

  • ในด้านการลงทุน ดูไม่ค่อยดี ทั้งในตราสารหนี้ที่ผลตอบแทนจะต่ำลง และทั้งในตราสารทุน ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นจากเงินทุนที่มีโอกาสไหลออกและจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยเอง
  • ในด้านการออมเงิน ก็ไม่สวย เพราะดอกเบี้ยเงินฝากจะลดลง
  • ส่วนในด้านการบริโภคและการกู้ยืม ดีหน่อยที่ลูกหนี้น่าจะเบาตัวขึ้น เพราะดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง
  • การส่งออก น่าจะคึกคักขึ้น เพราะเอาเงินต่างประเทศแลกกลับเป็นเงินบาทได้จำนวนมากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในระยะต่อไป (หวังว่า)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *